20201014
An artist's depiction of astronauts walking on the moon as part of NASA's Artemis program.
(Image: © NASA)
 
            แท้ที่จริงแล้วค่าของการแผ่รังสีบนดวงจันทร์เคยมีการเปิดเผยโดยนักวิทยาศาสตร์มานานแล้ว แต่ทว่าค่าของการแผ่รังสีดังกล่าวในสมัยในสมัยนั้นยังไม่แม่นยำมากนัก
 
            การวัดค่าการแผ่รังสีฯ ในสมัยนั้นจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Dosimeters เป็นเครื่องมือที่นักบินภารกิจดวงจันทร์ด้วยอวกาศยานอพอลโล ได้นำไปวัดปริมาณการแผ่รังสีฯ บนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ค่าที่วัดได้นั้นเป็นเพียงค่าสะสมรวมตลอดภารกิจบนดวงจันทร์เท่านั้น ไม่ใช้ค่าจริงที่สามารถแยกรายละเอียดออกมาได้
 

            ล่าสุด ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของยานฉางเอ๋อ 4 ที่ได้ส่งยานสำรวจ Yutu-2 โดยใช้อุปกรณ์ Payload ที่เรียกว่า LND (Lunar Lander Neutron and Dosimetry Instrument) ที่สามารถให้รายละเอียดของค่าแผ่รังสีบนชุดอวกาศได้อย่างแม่นยำ

 
            รายละเอียดพบว่า การแผ่รังสีส่วนใหญ่ประมาณ 75% เกิดจากพลังงานของอนุภาคประจุ GCR (Galactic Cosmic Rays) ที่ถูกเร่งให้เกิดความเร็วอย่างมหาศาลจากการระเบิดขนาดใหญ่ โดยสามารถวัดค่าการแผ่รังสีฯ ได้ 60 Micro Sieverts ต่อชั่วโมง ซึ่งหากเทียบกับการดูดกลืนรังสีเที่ยวบินเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคโดยเครื่องบิน จะสูงกว่าประมาณ 5-10 เท่า และสูงกว่า 200 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราการดูดกลืนรังสีขณะที่อยู่บนผิวโลก
 

ที่มา : https://www.space.com/moon-radiation-dose-for-astronauts-measured

แปลและเรียบเรียงโดย : ร.ท.สุทธิพงษ์ โตสงวน