20201102
 
            บนอวกาศเป็นสถานที่สกปรก ในปัจจุบันมีขยะประมาณ 34,000 ชิ้น ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 10 ซ.ม. กำลังโคจรรอบโลกด้วยความเร็วประมาณ 10 เท่าของกระสุน หนึ่งในนั้นหากชนยานอวกาศความเสียหายอาจเป็นหายนะ
 
            ในเดือนกันยายน สถานีอวกาศต้องหลบเศษซากชิ้นส่วนอวกาศที่ไม่รู้จักด้วยปริมาณขยะในอวกาศที่เพิ่มชึ้นอย่างรวดเร็วโอกาสที่จะเกิดการชนกันจึงเพิ่มมากชึ้น
 
            European Space Agency (ESA) ต้องการทำความสะอาดบางส่วนด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในปี พ.ศ.2568 มีแผนจะเปิดตัวภารกิจอวกาศกำจัดเศษซากชิ้นแรกของโลก ClearSpace-1
 

            เศษซากโดยประมาณ 130 ล้านชิ้น โคจรรอบโลก เทคโนโลยีดังกล่าวกำลังถูกพัฒนาโดย Swiss Startup ClearSpace ซึ่งเป็นบริษัทที่แยกตัวออกมาจาก Ecole Polytechnique Fédérale de Lausanne (EPFL) เป้าหมายในการกำจัดของพวกเขาคือ Vespa Upper Part ที่ล้าสมัยแล้วซึ่งเป็นอะแดปเตอร์น้ำหนักบรรทุก 100 กก. ที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก 660 กม.

 

            ClearSpace-1 จะใช้กล้องที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อค้นหาเศษซาก จากนั้นแขนหุ่นยนต์จะจับวัตถุและลากกลับสู่ชั้นบรรยากาศก่อนที่จะเผาไหม้

 

            จุดสนใจหลักคือการพัฒนาอัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึกหรือ Deep Learning เพื่อประมาณท่าทาง 6D ได้อย่างน่าเชื่อถือ (การเคลื่อนที่ 3 มิติและการแปลความภาพถ่ายเชิง 3 มิติ) ของเป้าหมายจากลำดับภาพวิดีโอแม้ว่าภาพที่ถ่ายในอวกาศจะยากก็ตาม Mathieu Salzmann นักวิทยาศาสตร์ของ EPFL ที่เป็นแกนนำหลัก ในโครงการกล่าว พวกเขาสามารถที่จะเปิดเผยสิ่งที่เป็นพื้นผิวที่เหมือนกระจกได้หลากหลาย

 

            ไม่มีการพบเห็น Vespa มาเป็นเวลาเจ็ดปีแล้วดังนั้น EPFL จะใช้ฐานข้อมูลของภาพสังเคราะห์เพื่อจำลองรูปลักษณ์วัตถุที่ตรวจจับได้เก็บเป็นข้อมูลสำหรับการสร้างอัลกอริทึม

 

            เมื่อภารกิจเริ่ม นักวิจัยจะจับภาพชีวิตจริงจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก เพื่อปรับแต่งระบบ AI อัลกอริทึมยังต้องถูกโอนถ่ายข้อมูลไปยังแพลตฟอร์มออนบอร์ดที่ติดตั้งบนดาวเทียมตรวจจับภาพ

 

            เนื่องจากการเคลื่อนที่ในอวกาศมีคุณลักษณะที่ดี การประเมินค่าท่าทางจึงสามารถเติมเต็มช่องว่างระหว่างช่วงระยะเวลาที่ห่างกันหนึ่งวินาที จึงช่วยในลดแรงกดดันในการคำนวณได้

 

            อย่างไรก็ตามเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนทั้งหมดในภารกิจได้โดยอัตโนมัติ อัลกอริทึมจะต้องมีความสามารถที่ซับซ้อนจนนำไปใช้งานได้ ต้องบีบประสิทธิภาพทั้งหมดออกจากทรัพยากรของแพลตฟอร์ม”

 

            หากการตรวจจับสำเร็จอาจเป็นการปูทางไปสู่ภารกิจกำจัดเศษซากเพิ่มเติมซึ่งจะทำให้พื้นที่อวกาศปลอดภัยขึ้น

 

แหล่งที่มาข้อมูล : https://thenextweb.com/neural/2020/10/30/ai-to-help-worlds-first-removal-of-space-debris/

เผยแพร่เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๐๒๗ น.ในประเทศไทย

แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกยุทธนา สุพรรณกลาง