20201130 axelspace
 
            บริษัท Axelspace ของญี่ปุ่นมีกำหนดที่จะปล่อยดาวเทียมจำนวน 4 ดวง ในปี 2021 นี้เพื่อขยับไปสู่เป้าหมายในการถ่ายภาพรอบโลกทุกวัน
 
            Yasunori Yamaza Chief Business Officer ของบริษัท Axelspace กล่าวว่าดาวเทียมที่เพิ่มขึ้นมานี้จะไปช่วยเร่งอัตราเร็วในการโคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม (Revisit Rate) ให้เร็วขึ้นไปถึง 1.4 Days
 
            บริษัท Axelspace เริ่มการปฏิบัติการเชิงพาณิชย์ด้านภาพถ่ายดาวเทียมในปี 2019 จากดาวเทียม 100 กิโลกรัมดวงแรกซึ่งปล่อยเมื่อปี 2018 บริษัท Axelspace ประกาศแผนเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่จะส่งดาวเทียม 4 ดวงขึ้นไปยังวงโคจร Sun Synchronous Orbit ในเดือนมีนาคมด้วยจรวด Soyuz สองลำ จากฐานปล่อยจรวด Baikonur Cosmodrome ประเทศคาซัคสถาน
 
            เมื่อบริษัทมีดาวเทียม 5 ดวง ระบบ Satellite Constellation ของมันจะโคจรกลับมา (Revisit) ยังบริเวณละติจูดปานกลางรวมถึงญี่ปุ่นในอัตราความถี่ 1.4 ครั้งต่อวัน และโคจรมายังบริเวณละติจูดต่ำทุก ๆ สามวัน
 
            ในขณะที่รอเวลาในการปล่อยดาวเทียม บริษัทก็ได้ดำเนินการสร้างดาวเทียมเพื่อขยายอาณาเขตของ Earth Observation Constellation อย่างต่อเนื่อง
 
            นอกจากนี้บริษัท Axelsapce ยังเปิดเผยอีกว่าการพัฒนาดาวเทียมถึง 4 ดวงพร้อม ๆ กัน ถือเป็นขั้นแรกในการก้าวไปสู่การสู่การผลิตในปริมาณสูงอย่างเต็มรูปแบบ
 
            ดาวเทียมของ Axelspace ซึ่งถูกเรียกว่า “GRUS” ได้มีการติดตั้งกล้องขนาดความละเอียด 2.5 เมตร ในช่วงความยาวคลื่น red, green, blue, near-infrared และ red-edge โดยภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อลูกค้าที่ต้องค้นหาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทางการเกษตรและป่าไม้ นอกเหนือจากการติดตามแนวโน้มทางเศรษฐกิจและการเฝ้าสังเกตเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
 
            ในเดือนตุลาคม Axelspace ได้เริ่มทำการให้บริการ Business Continuity Planning (BCP) โดยได้บริการภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนคือการเฝ้าติดตามพื้นที่ที่มีแนวโน้มในการเกิดภัยพิบัติเพื่อเป็นการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ในอัตราเริ่มต้นเพียง $500 ต่อเดือน
 
            Axelspace ถ่ายภาพ facilities และพื้นที่โดยรอบก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติสำหรับลูกค้า BCP และสามารถให้ข้อมูลของสภาพทรัพย์สินของลูกค้าและสภาพแวดล้อมโดยรอบหลังจากเหตุการณ์ ทั้งนี้ลูกค้าในการเข้าถึงภาพถ่ายผ่านทาง “AxelGlobe” ซึ่งเป็น plateform ในการเข้าถึง Earth Observation ผ่านเวบไซต์
 
ที่มา : https://spacenews.com/axelspace-four-more-satellites/
แปลและเรียบเรียงโดย น.ต.ชาคริต จันทมิตร