20201201 1
Credits: NASA/USAID/SERVIR-Mekong
 
            กว่าศตวรรษ ที่นาซาได้ใช้ความได้เปรียบทางอวกาศที่มี ผสมผสานกับความสามารถทางอากาศ และภาคพื้น แปลผลข้อมูลผลกระทบของมลพิษทางอากาศ และช่วยเหลือองค์กรอื่น ๆ เพื่อป้องกันประชากรเมื่ออากาศที่ผลกระทบสุขภาพเป็นภัยต่อคุณภาพการดำรงชีวิตทั้งในสถานที่อาศัย ที่ทำงาน และพักผ่อน ซึ่งในปัจจุบันองค์กรของประเทศไทย ได้นำประโยชน์ซึ่งใช้ศักยภาพของข้อมูลคุณภาพอากาศโดยนาซาผนวกกับความเชี่ยวชาญ ด้านคุณภาพอากาศ ผ่านความร่วมมือระหว่างองค์กรจนมาเป็น SERVIR
 
            SERVIR ความหมายในภาษาสเปนซึ่งหมายถึง “เพื่อรับใช้” เป็นการรวมตัวโดยมีจุดเริ่มแรกเกิดจากนาซาและหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (the United States Agency for International Development : USAID) เพื่อส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพด้านสิ่งแวดล้อมและการตัดสินใจในภูมิภาคประเทศกำลังพัฒนารอบโลกผ่านเครือข่ายและศูนย์กลางขอภูมิภาค โดย SERVIR จะเผยแพร่ข้อมูลภาพถ่าย, ข้อมูลภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ (Geospatial Data) และเครื่องมือการวิเคราะห์ไปยังผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจเพื่อช่วยเหลือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน ซึ่งศูนย์กลางของ SERVIR- Mekong ในภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ ณ มูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติ แห่งเอเชีย (the Asian Disaster Preparedness Center) กรุงเทพมหานคร เพื่อให้บริการประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
 
            เพื่อการปรับปรุงการติดตามมลพิษทางอากาศในประเทศไทย และประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยSERVIR- Mekong ได้นำความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวัดคุณภาพของอากาศ การออกแบบเทคโนโลยี แบบโมเดลด้านชั้นบรรยากาศ และส่วนร่วมในความเป็นพลเมือง (Civic Engagement) โดยมีกรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ใช้ความสามารถของตัวตรวจจับภาคพื้นสามารถระบุตำแหน่งของแหล่งเกิดมลพิษ ผนวกกับข้อมูลจากดาวเทียมของนาซ่าที่สามารถทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถเห็นภาพใหญ่ของปัญหามลพิษทางอากาศได้ รวมถึงระบบที่ใช้เทคนิคการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองพัฒนาจนมาเป็นระบบติดตามและพยากรณ์คุณภาพอากาศ ที่ใช้โครงสร้างแพลตฟอร์มแบบทำงานผ่านเว็บไซต์ (Web-based Platform)
 
            สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศในประเทศไทย สาเหตุส่วนส่วนหนึ่งเกิดจากเผาไหม้ทางการเกษตร และการเกิดไฟป่า ที่มีผลกระทบในวงกว้างในแถบเอเชียใต้ โดยมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้นจะกลายเป็นวิกฤติในช่วงของฤดูที่อากาศแห้ง เมื่อฝนมรสุมได้พัดผ่านออกไปจากประเทศและอุณหภูมิที่ลดลง รวมถึงสภาวะลมที่นิ่ง เป็นสภาพที่เอื้อต่อการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็ก และสามารถวนเวียนเป็นระยะเวลานาน
ความสำเร็จของ SERVIR-Mekong จะนำไปสู่การขยายผลไปยังประเทศของภายใต้สมาคมประชาชาติแหงเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตได้
 

ที่มาของข่าว : https://www.nasa.gov/mission_pages/servir/thailand-brings-nasa-air-quality-data-down-to-earth.html

แปลและเรียบเรียงโดย จ.อ.ธวัชชัย หันจันทร์