20201121 LongMarch5ChangE
 
            จีนสามารถประสบความสำเร็จในการส่งอวกาศยานชางอี-5 (Chang’E-5) ด้วยจรวดนำส่งลองมาร์ช-5 (Long March-5) จากฐานปล่อยจรวดเวนชาง (Wenchang Space Launch Sit) บนเกาะไหหนาน ทางใต้ของจีน เมื่อ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 04.30 ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 03.30 ตามเวลาประเทศไทย
 
            ภารกิจชางอี-5 เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกประกอบด้วยยานโคจร (Orbiter) ยานลงจอด (Lander) ยาน Ascender ยาน Returner ด้วยน้ำหนัก 8.2 ตัน และคาดว่าจะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ โดยการควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
 
            เมื่อยานเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ได้แล้ว ส่วนยานลงจอดและยาน Ascender จะแยกส่วนออกจากยานโคจรและยาน Retuner โดยที่ความสูงเหนือดวงจันทร์ 200 กิโลเมตร ส่วนยานลงจอดและยาน Ascender จะลดความสูงลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ดวงจันทร์ที่เรียกว่า Oceanus Procellarum หรือเรียนอีกชื่อว่า Ocean of Storm และเป็นด้านทิศตะวันตกที่ยานอวกาศชางอีข3 (Change’e-3) เคยลงจอดมาก่อนเมื่อปี ค.ศ.2013
 
            หลังจากนั้นภายใน 48 ชั่วโมง แขนกลของยานอวกาศจะยื่นออกและทำการตักหินบริเวณพื้นผิวดวงจันทร์ รวมทั้งทำการเจาะผิวดวงจันทร์ คาดว่าจะสามารถเก็บได้ 2 กิโลกรัม เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วยาน Ascender จะจุดระเบิดเพื่อให้ยานทะยานขึ้นออกจากดวงจันทรเพื่อไปรวมตัวกับส่วน Orbiter-Returner และทำการย้ายสิ่งที่เก็บมาได้ไปไว้ที่ยาน Returner และยาน Ascender จะแยกตัวออกจากส่วน Orbiter-Returner โดยส่วน Orbiter จะทำหน้าที่นำยาน Returner กลับสู่โลก โดยจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกและลงจอดที่ Siziwang Bannner พื้นที่ปกครองตนเองมองโกเลีย ตอนบนของประเทศจีน ซึ่งภารกิจนี้จะใช้เวลาทั้งสิ้น 20 วัน
 
            สำหรับภารกิจนี้เป็นภารกิจที่ใช้ระบบอัตโนมัติ ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโวเวียตได้เคยดำเนินการมา ทำให้ประเทศจีนสามารถสร้างความก้าวหน้าในกิจการอวกาศที่จะนำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์ในอนาคตต่อไป
 

ที่มาของข่าวและภาพ : http://www.xinhuanet.com/english/2020-11/24/c_139538307.htm 

                                : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Chang%27e-5_mission_profile.png

แปลและเรียบเรียง โดย นาวาอากาศเอก พนม อินทรัศมี