20201222
 ภาพที่ 1: ภายในโมดูลผลิตชิ้นส่วนเซรามิกที่กำลังสร้างกังหัน Turbine
 

            บริษัท Made in Space ของสหรัฐอเมริกา ได้ทำกระบวนการผลิตนอกโลกด้วยวัสดุเซรามิกซ์เป็นครั้งแรก ด้วยการแผ่นกังหัน Turbine ด้วยเครื่องปริ้น 3 มิติ ซึ่งได้ทำการติดตั้งโมดูลเครื่องปริ้นนี้ บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS) และทดลองภายในสถานีจนเสร็จสิ้น

 

            กระบวนการผลิตชิ้นส่วนกังหันในสภาวะแรงโน้มถ่วงระดับไมโคร (Microgravity) ขึ้นรูปด้วยโมดูลผลิตชิ้นส่วนเซรามิก (Ceramic Manufacturing Module, CMM) ซึ่งใช้เรซินพิมพ์ผ่านรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (Ultraviolet) และรังสีไมโครเวฟ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถสร้างชิ้นส่วนที่ซับซ้อนอย่างเช่น แผ่นใบกังหัน Turbine ได้ด้วยความแม่นยำสูง โดย CMM จะสร้างชิ้นส่วนต่างๆจากเซรามิกและกลับมาใช้ที่โลก

 

            ตัวแทนบริษัทได้เพิ่มเติมไว้ว่า กระบวนการผลิตแผ่นกังหัน Turbine ในสภาวะแรงโน้มถ่วงแบบไมโครช่วยลดส่วนประกอบในการผลิตและได้ประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเพิ่มความแข็งแรง (Strength) ลดความเครียดตกค้าง (Residual Stress) ภายในชิ้นส่วน เนื่องจากกระบวนการนี้ลดจุดบกพร่อง (Defects) ภายในชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วง เช่น การตกตะกอน (Sedimentation) ของอนุภาคแขวงลอย และการแยกชั้นของส่วนผสม (Composition Gradients) เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถทำให้ใช้ประโยชน์จากสถานีอวกาศนานาชาติได้มากขึ้น

 

            หลังจากชิ้นส่วนที่สร้างเสร็จแล้วนี้จะกลับเข้าสู่โลกด้วยแคปซูลขนส่งของยาน Dragon crew ของ SpaceX ที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไป โดยนำมาตรวจสอบชิ้นงานและทดสอบบนโลกอีกครั้ง

 

ที่มาของข่าวและภาพ : https://www.space.com/made-in-space-3d-print-ceramic-turbine-part

แปลและเรียบเรียง โดย เรืออากาศตรี กันต์ จุลทะกาญจน์