20201224 1
 
            จีนประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดขนาดกลาง Long March 8 รุ่นใหม่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นก้าวเล็ก ๆ ในการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ของจีน
 
            โดยจรวด Long March 8 ยาว 50.3 เมตร น้ำหนัก 356 ตัน ทยานขึ้นเวลา 11:37 p.m. Eastern เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 จากชายฝั่ง Wenchang ซึ่งมีการนำส่งดาวเทียม 5 ดวงเข้าสู่วงโคจร Sun-synchronous orbits อีกด้วย การยิงนำส่งนี้ล่าช้าไป 2 วันเนื่องจากสภาพอากาศ โดยบริษัท China Aerospace Science and Technology Corp. (CASC) ยืนยันความสำเร็จในการยิงจรวดประมาณ 40 นาทีต่อมา
 
            Long March 8 จะใช้ออกซิเจนเหลวและน้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงจรวดในขั้นแรก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.35 เมตร ส่วนจรวดขั้นที่ 2 ใช้ hydrolox (liquid hydrogen& liquid oxygen) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เมตร จาก Long March 3A โดยเครื่องยนต์ YF-100 จะเป็นเครื่องยนต์หลักซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.25 เมตร
 
            China Academy of Launch Vehicle Technology (CALT) บริษัทย่อยของ CASC ระบุว่า จรวดรุ่นใหม่นี้เติมเต็มช่องว่างในขีดความสามารถของจีนในการยิงนำส่งไปยังวงโคจร Sun-synchronous orbits ได้ถึง 3-4.5 ตัน โดยจรวด Long March 8 เป็นจรวดรุ่นใหม่ที่มีความคล้ายคลึงกับ Long March 5, 6, 7 ซึ่งออกแบบมาเพื่อทดแทนและอับเกรดจรวดตระกูล Hypergolic Long March 2, 3, 4 อีกทั้งยังมีความสามารถในการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ได้
 
            “ เทคโนโลยีการปรับแรงขับเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่และต้องได้รับการฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญ” Xiao Yun ผู้บัญชาการของจรวดขนส่ง Long March 8 กล่าวถึงการทดสอบเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นลงในแนวดิ่งและการลงจอดในแนวดิ่งได้มีการวางแผนไว้แล้วในปี 2564
 
            โดยในเที่ยวบินนี้มีดาวเทียมถูกนำส่งขึ้นไป 5 ดวง ได้แก่ 1.ดาวเทียม XJY-7 ซึ่งเป็นดาวเทียมทดสอบเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลที่พัฒนาโดย China Academy of Space Technology (CAST) มีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 3 ตัน 2. ดาวเทียม Haisea-1 เป็นดาวเทียม C-band SAR ขนาดเล็กดวงแรก ที่ใช้เสาอากาศแบบแบ่งเฟส น้ำหนัก 180 กิโลกรัม ความละเอียด 1 เมตร ซึ่งเป็นของบริษัทดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของจีน (Spacety ) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2559 และอยู่ในระหว่างการพัฒนาซึ่ง Hisea-1 นั้นยังมีระบบขับเคลื่อน iodine electric propulsion system ที่พัฒนาโดยบริษัทสัญชาติฝรั่งเศส 3. ดาวเทียม Yuanguang เป็นดาวเทียมวิทยาศาสตร์อวกาศน้ำหนัก 20 กิโลกรัมที่พัฒนาร่วมกันโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหูเป่ย (HUT) และ Spacety 4. ดาวเทียมZhixing-1A หรือที่เรียกว่า ET-SMART-RSS 6U nanosat ได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือระหว่างเอธิโอเปียและ บริษัทการค้า Beijing Zhixing Space Technology Co. Ltd. 5. ดาวเทียม Ping'an-1 หรือที่เรียกว่า Tianqi Xingzuo-08 ของบริษัท Guodian Gaoke
 
ที่มา : https://spacenews.com/china-launches-first-long-march-8-from-wenchang-spaceport/
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ต.ธีรพงษ์ เข็มทอง