20201228 2
ภาพกราฟฟิกยาน Solar Orbiter โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ (ภาพ: © ESA)
 
            ยาน Solar Orbiter ได้บินผ่าน (fly by) ดาวศุกร์ครั้งแรกในช่วงเย็นวันที่ 27 ธ.ค.63 และได้เข้าใกล้ดาวศุกร์ที่สุดเวลา 19.39 น. ระยะห่างประมาณ 7,500 กม. วัดจากเหนือกลุ่มเมฆก๊าซหนาแน่นบนชั้นบรรยากาศดาวศุกร์ไปถึงอวกาศยาน
 
            ภารกิจ Solar Orbiter เกิดจากความร่วมมือขององค์การบริหารการบินและอวกาศ (NASA) และ องค์กรอวกาศยุโรป (European Space Agency, ESA) ซึ่งเริ่มต้นในปี 2561 เป็นการศึกษาลักษณะของดวงอาทิตย์อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยการเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ใช้วิธีการลดขนาดวงโคจรกับดวงอาทิตย์ในแต่ละรอบโดยการบินผ่านแรงโน้มถ่วงจากการเหวี่ยงตัว (Gravity Assist) เมื่อเข้าใกล้ดาวเคราะห์ต่างๆ เพื่อลดความเร็วของอวกาศยาน ซึ่งการบินผ่านดาวศุกร์ครั้งนี้เป็นหนึ่งในแผนการทำให้อวกาศยานเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดิม และได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวศุกร์ได้อีกด้วย
 
            จากที่ประชุมการข่าวในกลุ่มสหภาพทางธรณีฟิสิกส์ของอเมริกา (American Geophysical Union) ในวันที่ 10 ธ.ค. พบว่ายาน Solar Orbiter ผ่านดาวศุกร์ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากอวกาศยานนี้ไม่ได้ออกแบบให้สามารถสำรวจดาวศุกร์ได้เต็มที่ โดยการออกแบบไม่ให้ใช้กล้องที่มีสำหรับถ่ายรูปในบริเวณใดๆ นอกจากดวงอาทิตย์เท่านั้น
 
            แต่ล่าสุดในวันที่บินผ่านไปนั้น ขั้น ต้นทางนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ Magnetometer วิทยุ เครื่องวัดคลื่นพลาสมา (Plasma wave instrument) และเซ็นเซอร์บางชนิดในเครื่องตรวจอนุภาคที่มีพลังงาน (Energetic particle detector) ทั้งหมดนี้ในการสำรวจการไหลของลมสุริยะ (Solar wind) ผ่านดาวศุกร์ ซึ่งดาวศุกร์ไม่มีชั้นสนามแม่เหล็กเหมือนโลก ทำให้การไหลผ่านของลมสุริยะต่างกันมาก แต่ก็ยังไม่ทราบว่าข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์เหล่านี้จะมีความชัดเจนและมีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์มากน้อยเพียงใด แม้นักวิทยาศาสตร์จะตรวจพบข้อมูลจากเซ็นเซอร์นี้ได้
 
ที่มาของข่าวและภาพ: https://www.space.com/solar-orbiter-makes-first-venus-flyby
แปลและเรียบเรียง โดย เรืออากาศตรี กันต์ จุลทะกาญจน์