20200106 2
ภาพถ่ายที่ได้จากยาน Hayabusa2 เมื่อเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย Ryugu สองปีที่แล้ว
 
            เมื่อเดือนที่แล้ว ภารกิจ Hayabusa2 ของญี่ปุ่นได้นำก้อนหินที่เก็บได้จากดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่ชื่อว่า Ryugu กลับมายังโลกและอยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ตัวอย่างที่ได้ โดยที่นักวิจัยใช้ข้อมูลจากเครื่องมืออื่นๆ ในอวกาศยานเพื่อค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้
 
            นักวิจัยได้ให้คำอธิบายจากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Nature Astronomy ว่าเหตุใดดาวเคราะห์น้อย Ryugu ถึงมีร่องรอยของน้ำน้อยกว่าดาวเคราะห์น้อยอื่นๆ นั่นก็เป็นเพราะว่าองค์ประกอบในการก่อกำเนิดดาวเคราะห์น้อย Ryugu นั้นได้รับความร้อนมากจนทำให้เกิดภาวะแล้งกว่าที่คาดไว้ Ralph Milliken นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และผู้ร่วมศึกษาวิจัย ณ มหาวิทยาลัยบราวน์ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เราพยายามทำความเข้าใจคือการกระจายตัวของน้ำในช่วงเริ่มต้นของระบบสุริยะและเหตุใดที่ทำให้โลกมีแหล่งน้ำ นอกจากนี้ Ralph ยังกล่าวต่ออีกว่า ดาวเคราะห์น้อยที่อุ้มน้ำได้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในนั้น ดังนั้นการศึกษา Ryugu อย่างละเอียดและการได้รับตัวอย่างของก้อนหินหรือแร่จะทำให้เราเข้าใจเหตุผลทางประวัติศาสตร์ของแร่ที่อุ้มน้ำได้บนดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้
 
            อีกหนึ่งเหตุผลที่ Ryugu ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่ศึกษานั้น เนื่องด้วยเป็นชนิดของดาวเคราะห์น้อยสีเข้มและคาดว่าจะมีแร่ที่อุ้มน้ำและสารประกอบอินทรีย์ ดาวเคราะห์น้อยประเภทนี้อาจจะเป็นที่มาของอุกกาบาตสีเข้ม มีน้ำและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบที่พบได้บนโลกโดยรู้จักกันในนามว่า Carbonaceous Chondrites ซึ่งอุกกาบาตเหล่านี้ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดในแลปรอบโลกมาหลายทศวรรษ แต่ยังไม่สามารถระบุที่มาของอุกกาบาตเหล่านี้ได้ว่ามาจากดาวเคราะห์น้อยดวงใด
 
            Ryugu เป็นการรวมตัวจากกลุ่มก้อนของเศษหินโดยแรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้เกิดจาก Debris ที่หลงเหลือจากการชนกันครั้งใหญ่ ซึ่งในโอกาสที่ยาน Hayabusa 2 ได้ทำ rendezvous กับดาวเคราะห์น้อย Ryugu เมื่อปี 2019 นั้น ยานได้เก็บตัวอย่างก้อนหินโดยการยิงเป็นโปรเจกไทล์บนพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยซึ่งทำให้เก็บหลุมขนาดเล็กและการทับถมของก้อนหินที่เหลือใต้ผิวดินนั้น อุปกรณ์ที่ใช้คือ Spectrometer ในย่าน Near Infrared ซึ่งมีขีดความสามารถในการตรวจจับร่องรอยของแร่ที่อุ้มน้ำได้ ซึ่งผลการศึกษาคือร่องรอยของน้ำชั้นใต้ผิวดินมีความคล้ายคลึงกับน้ำบนพื้นผิวชั้นนอก ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าการที่พื้นผิวดาวเคราะห์น้อย Ryugu มีสภาพแห้งนั้นเป็นผลมาจากดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาขนาดของก้อนหินที่ขุดได้จากพื้นผิวกับส่วนที่อยู่ลึกลงไปซึ่งแยกจากขนาดได้ยากจากวิธีการทางรีโมตเซนซิง
 
            หลังจากยาน Hayabusa 2 กลับสู่โลกเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ตัวอย่างได้รับการศึกษาอย่างละเอียด รวมถึงศึกษา ณ NASA Reflectance Experiment Laboratory (RELAB) มหาวิทยาลัยบราวน์ อีกด้วย ซึ่งจะนำผลลัพธ์ที่ได้ไปยืนยันร่วมกับทีมรีโมตเซนซิงต่อไป
 
ที่มาของข่าวและภาพ: https://phys.org/news/2021-01-remote-asteroid-ryugu-lost.html
แปลและเรียบเรียง: นาวาอากาศตรีหญิง ผณินทรา สุนทรหฤทัย