20210324 3
ภาพที่ 1 ภาพจำลองการบินของอากาศยาน Ingenuity บนดาวอังคาร
 
            วันที่ 23 มี.ค. องค์การการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ประกาศกำหนดการบินครั้งแรกของอากาศยานบนดาวอังคาร Ingenuity ที่ลงจอดติดกับอวกาศยาน Perseverance เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา กำหนดการบินในจะมีกำหนด 31 วันบนดาวอังคาร (Sol) โดย 1 วันในดาวอังคารจะใช้เวลาของโลกประมาณ 24 ชม. 39 นาที จำนวน 5 เที่ยวบิน ซึ่งจะเป็นการสาธิตและทดสอบขีดความสามารถของอากาศยาน Ingenuity
 
            อย่างไรก็ตาม ทาง Jet Propulsion Laboratory (JPL) ของ NASA ได้กล่าวไว้ในที่ประชุม การที่อากาศยาน Ingenuity สามารถปล่อยจากอวกาศยานได้นั้น จะต้องมีการตรวจสอบอีกหลายประเด็นก่อนที่จะปล่อยออกจากอวกาศยาน และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการปล่อยชิ้นส่วนจากอวกาศยานหลักเพื่อทำภารกิจนอกยานโดยลำพัง และจะแยกภารกิจออกจากอวกาศยานหลักโดยสิ้นเชิง และไม่สามารถกลับมาปฏิบัติภารกิจเดียวกันได้อีก
 
            การปล่อยอากาศยาน Ingenuity จะเริ่มขึ้นเมื่ออวกาศยาน Perseverance อยู่กลางบริเวณสนามบิน (Airfield) ที่ทาง NASA ได้วางพิกัดไว้ โดยเป็นพื้นที่ราบเรียบและปราศจากสิ่งกีดขวางอันตรายบริเวณ 10 เมตร และใกล้กับพื้นที่ลงจอดบริเวณ Jezero Crator
 
20210324 4
ภาพที่ 2 พื้นที่สนามบิน พื้นที่การบินของอากาศยาน Ingenuity (ที่มา: HiRISE)
 
การบินบนดาวอังคาร
            หลังจากปล่อยอากาศยาน Ingenuity ลงสู่พื้น อวกาศยาน Perseverance ต้องเคลื่อนที่ทิศทางออกจากอากาศยาน 5 เมตรภายใน 24 ชม. เพื่อยืนยันว่าอากาศยาน Ingenuity ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพียงพอที่จะชาร์จพลังงานลงแบตเตอรี่ แล้วจะตรวจสอบปีกหมุนของอากาศยานเช่น การทดสอบการหมุนของปีกด้วยความเร็ว 2,537 รอบต่อนาทีในความเร็วเดียวกันขณะที่เดินทางบนอากาศ และถ้าสำเร็จจะให้อากาศยานยกตัวขึ้นสูง 3 เมตร ในระยะเวลาสูงสุด 30 วินาที และลงจอด
 
            ในระยะเวลาการบิน 31 วันจะมีเป้าหมายความสูงการบินที่ 5 เมตร โดยใน 3 เที่ยวบิน (Sorties) แรกจะเป็นเที่ยวบินทดสอบพิสัยการบิน ซึ่งอาจมีความสามารถมากกว่ารุ่นที่ออกแบบไว้ที่ทำได้ 90 เมตร โดนจะลงจอดในบริเวณหัวหรือท้ายสนามบินที่กำหนดหลังหมดเวลาการบิน
 
20210324 5
ภาพที่ 3 พื้นที่เป้าหมายการถ่ายภาพครั้งแรก Van Zyl Overlook จากพื้นที่การบินของอากาศยาน Ingenuity (ที่มา: JPL)
 
            อากาศยาน Ingenuity สามารถถ่ายภาพและวิดีโอด้วยกล้องและไมโครไฟนที่ติดกับอากาศยาน แต่ไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยเป้าหมายการถ่ายภาพแรกจะเป็นพื้นที่ชื่อว่า Van Zyl Overlook ตั้งชื่อให้เกียรติกับ Jakob Van Zyl ผู้อำนวยการสำรวจระบบสุริยะ และผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกำหนดโครงการ และการวางยุทธศาสตร์ของ JPL เสียชีวิตเมื่อปี 2020
 

            หลังจากหมดช่วงเวลาการบิน 31 วัน ทาง JPL จะกลับมามุ่งเน้นในภารกิจการค้นหาหลักฐานสิ่งมีชีวิตโบราณบนดาวอังคารต่อไป และจะทำการจัดเก็บชิ้นส่วนบนดาวอังคาร เพื่อรอส่งกลับโลกโดยความร่วมมือของ NASA และ European Space Agency (ESA) คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2031

 
            อนาคตนี้จะมีการสำรวจด้วยการบินเช่นกัน โดยจะทำการบินบนดวงจันทร์ไททันในภารกิจ Dragonfly กำหนดแผนการปล่อยอากาศยานขนาดใหญ่สู่อวกาศในปี 2027 ไปลงจอดที่ดวงจันทร์ไททัน
 
ที่มาของข่าว: https://www.space.com/mars-helicopter-ingenuity-fly-april-8
แปลและเรียบเรียง โดย เรืออากาศตรีกันต์ จุลทะกาญจน์