ภายหลังจากที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เปิดกองบัญชาการอวกาศ (US Space Command) อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.2019 เพื่อตอบสนองต่อฝ่ายตรงข้ามที่มีแนวโน้มจะเป็นภัยคุกคามทางอวกาศต่อสหรัฐฯ  ภารกิจส่วนใหญ่เป็นความลับ มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาให้สาธารณชนรับรู้น้อยมาก แต่จากข้อมูลที่เผยแพร่สามารถที่สังเคราะห์ออกมาเป็น 5 ประเด็นที่สำคัญที่ควรรู้

img38 879x485

ภาพที่ 1 ผู้บัญชาการ กองบัญชาการอวกาศ พล.อ.อ.จอห์น เจ เรย์มอนด์ ในพิธีเปิดกองบัญชาการ

 

1. กองบัญชาการอวกาศสหรัฐฯ มีความจำเป็นต่อความมั่นคงด้านอวกาศ

          อันที่จริงแล้วกองบัญชาการอวกาศสหรัฐฯ นั้นถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.2985 และต่อมาถูกผนวกรวมเข้ากับกองบัญชาการยุทธศาสตร์ ในการปรับโครงสร้างกำลังใน ค.ศ.2002 หลังเหตุการณ์ 9-11  ปัจจุบันจีนและรัสเซียได้พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สามารถทำลายหรือรบกวนระบบดาวเทียมของสหรัฐฯ และกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ นั้นมีภารกิจด้านการป้องกันอาวุธนิวเคลียร์จากจรวดข้ามทวีปของฝ่ายตรงข้ามเป็นภารกิจหลัก จึงมีความจำเป็นต้องแยกภารกิจด้านความมั่นคงทางอวกาศออกมาเป็นเอกเทศอีกครั้งหนึ่ง

 

 

2. กองบัญชาการอวกาศถึงแม้ว่าจะก่อตั้งแล้วแต่ยังไม่ปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบ

          โดยกองบัญชาการอวกาศสหรัฐฯ จะได้รับการสนับสนุนจาก 2 องค์กร คือ กองบัญชาการกองกำลังอวกาศผสม (Combined Force Space Component Command, CFSCC) ที่ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Vandenberg, แคลิฟอร์เนีย มีภารกิจในการดำรงขีดความสามารถด้านอวกาศ เช่น การใช้ GPS ในการช่วยเดินอากาศ และใช้ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร ให้พร้อมตอบสนองต่อความต้องการของสหรัฐฯ และ กองกำลังป้องกันทางอวกาศร่วม (Joint Task Force Space Defense, JTF-SD) ที่ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Schriever, โคโลราโด ซึ่งมีภารกิจในการเฝ้าติดตามแนวโน้มของฝ่ายตรงข้ามและการป้องกันดาวเทียมของสหรัฐในกรณีที่ถูกโจมตี แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องการพัฒนาเพื่อให้กองบัญชาการอวกาศสามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มความสามารถ คงใช้เวลาอีกอย่างน้อง 1 ปี ที่จะทำให้กองบัญชาการอวกาศ มีขีดความสามารถเบื้องต้นในการปฏิบัติการทางอวกาศ

 

2 2 1024x560

ภาพที่ 2 โครงสร้างหน่วยงานภายใต้กองบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ

 

3. กองบัญชาการอวกาศมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงานร่วมกับพันธมิตร แต่ไม่สามารถแชร์ทุกอย่างให้ได้

          สหรัฐฯ มีพันธมิตรที่ร่วมกันปฏิบัติการทางอวกาศหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย, แคนาดา และสหราชอาณาจักร และมีภารกิจที่ปฏิบัติร่วมกับบริษัทเอกชน รวมถึงมีการปฏิบัติการ Operation Olympic Defender กับสหราชอาณาจักร แต่ด้วยการปฏิบัติการด้านอวกาศนั้นเป็นความลับ จึงไม่สามารถปันข้อมูลด้านอวกาศให้พันธมิตรได้ทั้งหมด

 

4. กองบัญชาการอวกาศนั้นไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาหน่วยงานการลาดตระเวนแห่งชาติ (National Reconnaissance Office)

          ในภาวะปกติเป็นการทำงานร่วมกัน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต ดาวเทียมของสหรัฐฯ ถูกโจมตี นั้นหน่วยงานด้านข่าวจะอยู่ใต้การควบคุมของกองทัพ เพื่อให้สามารถตัดสินตกลงใจและกำกับดูแลได้เร็วขึ้น

 

5. กองบัญชาการอวกาศไม่ใช่กองกำลังทางอวกาศ แต่มีความต้องการกองกำลังดังกล่าว

 

Raymond03 13150910LG 879x485

 

ในการแถลงของประธานาธิบดี ทรัมป์ การจัดตั้งกองทัพอวกาศขึ้นใหม่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในอวกาศ ทำให้เกิดการเข้าใจผิดขึ้น กองบัญชาการ อวกาศ ไม่ใช่กองทัพอวกาศ มันมีความแตกต่างกันระหว่างกองบัญชาการอวกาศและกองทัพอวกาศ  โดยกองบัญชาการอวกาศนั้นมีภารกิจในการเตรียมปฏิบัติการทางทหารทั้งปวงในอวกาศและได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพอื่นๆ โดยมาจากกองทัพอากาศเป็นหลัก ส่วนกองทัพใดๆ ของสหรัฐฯ นั้นต้องมีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ในการปฏิบัติการทางทหารในโดเมนนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามมีการเตรียมการที่จะออกกฎหมายจัดตั้งกองทัพอวกาศขึ้นเพื่อให้มีกองทัพที่เป็นหลักในการปฏิบัติการทางอวกาศ

          เห็นได้ว่าทั้งผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ในอวกาศ และภัยคุกคามที่มาจากอวกาศนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตามขีดความสามารถของการพัฒนาเทคโนโลยี การที่ต้องมีหน่วยงานด้านความมั่นคงเฉพาะ เช่น กองบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ กลายเป็นความจำเป็น และน่าสนใจที่เราควรจะติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิด

 

เรียบเรียงโดย : น.อ.เอกกมล ชวลิกุล