1. SpaceX และ Boeing เตรียมปล่อยนักบินและผู้โดยสารสู่อวกาศเชิงพาณิชย์กลุ่มแรก

 01

ภาพจำลองของ  CST-100 Starliner ของ Boeing (ซ้าย) และ แคปซูล Crew Dragon ของ SpaceX แคปซูล ในวงโคจร

 

Crew Dragon โดย SpaceX และ Starliner โดย Boeing จะนำนักบินอวกาศและผู้โดยสารกลุ่มแรกสู่อวกาศในปีนี้ แต่กำหนดการอย่างเป็นทางการยังไม่ทราบแน่ชัด โดยยานอวกาศทั้งสองยังคงอยู่ในช่วงของการทดสอบเรื่องความปลอดภัย

 

2. ดาวเทียมโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Solar Orbiter) 

02

ผลงานของศิลปินที่แสดงถึงดาวเทียมโคจรใกล้ดวงอาทิตย์

 

ดาวเทียมโคจรรอบดวงอาทิตย์ดวงนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่างนาซา (NASA) และองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) โดยดาวเทียมจะมีกำหนดการปล่อยจากฐาน Cape Canaveral Air Force Station ที่รัฐฟลอริดา ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปีนี้

          คาดการณ์ว่าดาวเทียมจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ประมาณ 0.28 AU (Astronomical Unit) ซึ่งอยู่ในวงโคจรของดาวพุธ ซึ่งมีภารกิจสำคัญเพื่อศึกษาการทำงานของดวงอาทิตย์ ดาวเทียมจะปฏิบัติภารกิจเป็นระยะเวลา 7 ปี
 

3. ยานสำรวจดวงอังคารของ Mars 2020 และอื่น ๆ 

03

ผลงานศิลปินที่แสดงถึงคอนเซปท์ของ NASA's Mars 2020 rover สำรวจดาวอังคาร

 

นาซาจะปล่อยยานสำรวจ Mars 2020  17 กรกฎาคมนี้ โดยยานสำรวจมีภารกิจสำรวจพื้นที่ที่อาจจะเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตดั้งเดิม (Ancient Habitability)

ในขณะที่องค์การอวกาศยุโรปและรัสเซีย มีแผนจะปล่อยยานสำรวจดาวอังคารเช่นกัน โดยมีชื่อว่า ExoMars Rosalind Franklin ซึ่งกำหนดการปล่อยในวันที่ 25 กรกฎาคม ปีนี้

          นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่จะส่งยานำรวจไปยังดาวอังคารอีก เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จะมีกำหนดการปล่อยยานสำรวจลำแรกที่ชื่อว่า Hope Mars Mission ซึ่งจะปล่อยฐานในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีแผนจะปล่อยยานจอดและยานสำรวจขนาดเล็กในปีนี้เช่นกัน

 

 
 4. การปล่อยยานพาหนะปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก (SSLV : Small Satellite Launch Vehicle)
 04

ภาพการปล่อยจรวดปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กของอินเดีย

 

การปล่อยยานพาหนะปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ SSLV ซึ่งเป็นจรวดใหม่ที่สร้างโดยองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย มีกำหนดการปล่อยสู่วกาศในช่วงต้นปี 2020 (มีภารกิจทดสอบการปล่อยในเดือนมกราคม)

เป้าหมายของภารกิจคือต้องการสร้างยานพาหนะขนาดเล็กที่สามารถปล่อยดาวเทียมรวมถึงมนุษย์อวกาศได้จำนวนครั้งที่มากขึ้น เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนของกระบวนการ

โดยในปีนี้ จะมีภารกิจปล่อยดาวเทียมสำรวจโลก จำนวน 4 ดวง ในโครงการ BlackSky Global โดยจรวด SSLV จะถูกปล่อยจากฐาน Satish Dhawan Space Center ในเมืองศรีหริโคตา (Sriharikota) ของประเทศอินเดีย
 

5. Starlink, Falcon Heavy และ Starship โดย SpaceX

 05

ภาพชุดดาวเทียม Starlink โดย SpaceX

 

SpaceX มีแผนที่จะเปิดตัวภารกิจอวกาศในปี 2020 ด้วยการปล่อยชุดดาวเทียม Starlink โดยภารกิจหลักจะเป็นดาวเทียมสื่อสารบรอดแบนด์ของโลก Starlink จะประกอบไปด้วยดาวเทียมมากถึง 42,000 ดวง ที่โคจรรอบโลก โดยแต่ละจะมีตัวตรวจจับ (Sensor) เพื่อไม่ให้เกิดการชนกันระหว่างดาวเทียม 

ภารกิจนี้ทำให้เกิดข้อกังวลในประเด็นเรื่องของการเกิดขยะอวกาศ (Space Debris) บริษัทฯ จึงได้มีแผนรองรับโดยจะเคลือบดาวเทียมด้วยวัตถุกันสะท้อน ผลคือดาวเทียมเหล่านั้นจะไม่รบกวนการสำรวจทางดาราศาสตร์ (Astronomical Observations)

SpaceX ยังคงมีภารกิจจรวด Falcon Heavy จรวดที่มีสมรรถภาพที่มีกำลังมากที่สุดในปัจจุบัน มีกำหนดการจะปล่อยในช่วงปลายปีนี้ อีกทั้ง SpaceX จะดำเนินการพัฒนาโครงการต้นแบบยาน Starship Mk3 สำหรับการสำรวจห้วงอวกาศอีกด้วย
 

6. ยานฉางเอ๋อ 5 ของจีน ภารกิจส่งตัวอย่างวัตถุจากดวงจันทร์

 06

ภาพจากยานสำรวจฉางเอ๋อ 4

 

จากความสำเร็จของยานฉางเอ๋อ 4 ยานจอดและยานสำรวจได้ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์อย่างปลอดภัย ณ บริเวณ Mons Rümker ซึ่งเป็นภูเขาบริเวณแหล่งแร่บะซอลต์บนดวงจันทร์ที่ชื่อว่า Oceanus Procellarum ภารกิจการส่งตัวอย่างวัตถุจากดวงจันทร์มายังโลกเพื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์ของยานฉางเอ๋อ 5 หากประสบสำเร็จ จะนับว่าเป็นภารกิจแรกในรอบ 48 ปี ที่ได้นำวัตถุตัวอย่างจากดวงจันทร์มายังโลก ต่อจากเมื่อครั้งภารกิจของยาน Apollo ในปี 1972
 

7. เครื่องบินอวกาศ X-37B ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

07

เครื่องบินอวกาศ X-37B

กองทัพอากาศสหรัฐฯ จะมีการเปิดตัวเครื่องบินอวกาศ (Space Plane) X-37B หรือ Orbital Test Vehicle ในปีนี้เป็นภารกิจที่หกของยานไร้ลูกเรือ (Uncrewed Vehicle) ที่จะสามารถอยู่ในอวกาศได้สูงสุด 1 ปี โดยก่อนหน้านั้นมีเครื่องบินอวกาศ X-37 ได้กลับสู่พื้นโลกหลังจากทำลายสถิติที่อยู่บนห้วงอวกาศได้ถึง 780 วัน

 

 

 8. Virgin Galactic
 08

 

ในปี 2019 Virgin Galactic  ได้เปิดตัวผู้โดยสารทดสอบคนแรกสู่อวกาศ บริษัทฯ จะเริ่มเปิดตัวเที่ยวบินท่องอวกาศแบบเชิงพาณิชย์ในปี 2020  

เที่ยวบินมีกำหนดการช่วงกลางปีนี้ โดยจะปล่อยจรวดจากฐาน Spaceport America ในเมือง New Mexico ซึ่งราคาของตั๋วโดยสารจะอยู่ที่ $ 250,000 ต่อคน หรือประมาณ 7,500,000 บาท

ยานอวกาศ SpaceShipTwo สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดจำนวน 8 คน โดยประกอบไปด้วยนักบินอวกาศจำนวน 2 คน และผู้โดยสารจำนวน 6 คน

 

 

 9. Blue Origin
 09

Blue Origin's New Shepard 2.0 booster aces its touchdown on Dec. 12, 2017.

(Image: © Blue Origin)

Blue Origin เป็นกิจการอวกาศโดยบริษัทเอกชน ที่ก่อตั้งโดย Jeff Bezos เศรษฐีพันล้านจากอเมซอน (Amazon) ได้เปิดตัวเที่ยวบินของยานอวกาศ New Shepard ในปี 2019 จำนวน 3 เที่ยวบิน ยังคงดำเนินการที่จะนำมนุษย์สู่อวกาศในปี 2020

New Shepard ประกอบด้วยบูสเตอร์ (Booster) แบบนำกลับมาใช่ใหม่ได้ และแคปซูลโดยสาร (Crew Capsule) ที่ออกแบบเพื่อรองรับผู้โดยสารสูงสุด 6 คน หรือน้ำหนักเทียบเท่ารวมช่วงทดลอง การทำ Suborbital บูสเตอร์จะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเมื่อถูกปล่อยและลงจอด และกลับสู่พื้นโลกโดยแคปซูลโดยสารด้วยการปล่อยร่ม (Parachutes) 

 

10. Virgin Orbit

10

Virgin Orbit เป็นบริษัทปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก โดยมีภารกิจที่จะปล่อยอุปกรณ์ Payload สู่วงโคจรโดยใช้ LauncherOne ซึ่งเป็นจรวดแบบ Air-launched Booster ที่จะถูกลำเลียงไปยังตำแหน่งการปล่อยโดย Cosmic Girl เครื่องบิน Boeing 747 Jumbo Jet ที่มีการดัดแปลงขึ้นเพื่อภารกิจนี้

 

ที่มาของข่าว : https://www.space.com/space-missions-to-watch-2020.html

เรียบเรียงโดย : ร.ท.สุทธิพงษ โตสงวน