อวกาศคือที่แห่งหนึ่งที่มีพื้นที่มหาศาล สำหรับอวกาศแล้ว สิ่งที่เรานึกถึงได้ คือ ยานอวกาศโคจรรอบโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้คิดว่าอวกาศนั้นไกลเกินกว่าที่เราจะนึกคิดได้ ถึงจะเป็นเรื่องจริงแต่อวกาศนั้นอยู่เพียงแค่เหนือหัวเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร โดยปกติการวางแผนเดินทางไปท่องเที่ยว ต้องตรวจสอบสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นก่อนเดินทางเพื่อเตรียมพร้อมรับมือเช่นเดียวกับการวางแผนเดินทางไปในอวกาศ การศึกษาสภาพแวดล้อมทางอวกาศเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรกก่อนที่จะวางแผนการเดินทางไปอวกาศ ในภารกิจส่งคนขึ้นไปในอากาศ หรือแม้กระทั่งวัตถุที่ส่งขึ้นไปด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม 
 
อวกาศอยู่ที่ไหน?
      ปัญหาเกิดขึ้นจากการหาคำจำกัดความของอวกาศเพราะไม่มีเส้นแบ่งให้เห็นเหมือนเขตแดนทางภูมิศาสตร์ชัดเจน โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration, NASA) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “อวกาศคือพื้นที่เหนือชั้นบรรยากาศ” เพราะชั้นบรรยากาศคือสิ่งที่แยกออกจากโลกกับอวกาศ ดังนั้นจึงมีคำถามต่อไปว่าขอบชั้นบรรยากาศของโลกอยู่ที่ไหน เริ่มต้นโดยทางกองทัพอากาศสหรัฐ (US Air Force) สหพันธ์การบินของสหรัฐ (FAA) และ NASA กำหนดความสูงที่ 92.6 กม. เป็นระดับความสูงในการเดินทางของนักบินอวกาศเพื่อที่จะได้เครื่องหมายปีกนักบินอวกาศ แต่ก็ยังไม่เป็นข้อตกลงทางสากล จนทางสหพันธ์กีฬาทางอากาศโลก (World Air Sport Federation) มีหน้าที่รับรองสถิติเกี่ยวกับกิจการการบินในระดับสูง ได้ยืนยันและตั้งขอบชั้นความสูงในชั้นบรรยากาศโลกที่ 100 กม. จากระดับน้ำทะเล อ้างอิงจากค่าปริมาณอากาศที่สามารถใช้ทำการบินได้เพียงพอ (ความสูงไม่เกิน 80-100 กม.) ซึ่งใช้เป็นค่ามาตรฐานของโลก
 
 ในทางปฏิบัติ การเดินทางอวกาศจะต้องอยู่ในความสูงที่วัตถุสามารถเดินทางโคจรรอบโลกได้ ต้องมีความสูง 131 กม.จากพื้นโลกโดยความสูงนี้จะทำให้โคจรได้ไม่กี่รอบ ก่อนที่จะแรงต้านจากชั้นบรรยากาศ (Atmospheric Drag) ดึงลงไปสู่พื้นโลก
 
ระบบสุริยะจักรวาล
       หากจะกล่าวถึงระบบสุริยะจักรวาลแล้ว วัตถุที่มีผลต่อระบบสุริยะมากที่สุดคือ ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ให้ความสว่างแก่ดาวเคราะห์รวมถึงโลก พลังงานที่ใช้เกิดจากการฟิวชั่นของไฮโดรเจน 600 ล้านตันต่อวินาที ผลลัพท์ที่ได้จากกระบวนการฟิวชั่น (Fusion process) คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation, EM) และ อนุภาคที่มีประจุ (Charged Particle)
 
km kan 01

ภาพ 1.2 ลักษณะของกระบวนการฟิวชั่นของอะตอมไฮโดรเจนที่เกิดในดวงอาทิตย์

 

pdf icon

ดาวโหลดเอกสาร