1. จานรับสัญญาณดาวเทียม NOAA โหมด APT

       เนื่องจากดาวเทียม NOAA ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณอยู่ในช่วง 137-138 MHz มีโพลาไรซ์แบบ RHCP ในการเลือกใช้สายอากาศรับสัญญาณจึงต้องเลือกใช้สายอากาศที่ให้โพลาไรซ์แบบวงกลม  มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น สายอากาศแบบ Crossed Dipole สายอากาศแบบ Double Turnstile และสายอากาศแบบ Quadrifilar Helix Antenna ซึ่งมีลักษณะการออกแบบ โครงสร้างแสดงดังภาพที่ 1-1 – 1-3 ตามลำดับและข้อดีข้อเสียต่างกันแสดงดังตารางที่ 1-1
 
noaa 2 0

ภาพที่ 1-1 โครงสร้างของสายอากาศแบบ Crossed Dipole แบบ RHC (ที่มา : http://hans.mayer.tv/html/crossdipole137.html)

 
 noaa 2 1

ภาพที่ 1-2 โครงสร้างของสายอากาศแบบ Double Turnstile แบบ RHCP

(ที่มา : http://www.g8seq.com/images/TurnstilePhasing2.png)

 
 noaa 2 2
 

ภาพที่ 1-3 โครงสร้างของสายอากาศแบบ QHA แบบ RHCP

(ที่มา : http://www.qsl.net/kf4cpj/qha/)

 

 

ตารางที่ 1-1 ข้อดีข้อเสียของสายอากาศแบบ Crossed dipole, Double Turnstile, QHA

noaa table1
 

 

2. จานรับสัญญาณดาวเทียม NOAA โหมด HRPT

        การทำงานของระบบรับสัญญาณโหมด HRPT  มีความคล้ายคลึงกับของโหมด APT  โดยข้อมูลของโหมด HRPT จะถูกส่งมาพร้อมกับข้อมูลในโหมด APT โดยสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของจานรับสัญญาณแบบต่างๆ ได้ดังตารางที่ 2-1
 

 

ตารางที่ 2-1 ข้อแตกต่างของ Antenna

noaa table2
 

สายอากาศแบบ Dish antenna ซึ่งมีมีอัตราขยายสูงสุดและใช้ฟีดสำหรับรับสัญญาณที่สะท้อนมาจากตัวจาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

        2.1 จานดาวเทียมแบบ พาราโบล่าร์ (Paraboloid Antenna )

        โครงสร้างจานแบบนี้เป็นแบบสมมาตรและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะมีโครงสร้างที่ง่ายและมีอัตราการขยายสูงจากลักษณะของส่วนโค้งจะทำให้สัญญาณทั้งหมดที่ตกลงมากระทบส่วนโค้งแล้วสะท้อนไปยังจุดโฟกัสเหนือจานรับสัญญาณ หากส่วนโค้งของจานมีความแน่นอนถูกต้องความแรงสัญญาณก็จะมีมากขึ้น

 noaa 2 3

ภาพที่ 2-1  จานดาวเทียมแบบ พาราโบล่าร์ ( Paraboloid Antenna )

(ที่มา : http://www.sangthongsat.com/_m/article/content/content.php?aid=538666997)

 
 

        2.2  จานดาวเทียมแบบออฟเซ็ท พาราโบลอยด์ ( Offset Paraboloid )

        จานสะท้อนเป็นส่วนหนึ่งของพาราโบลอยด์และ LNB จะวางอยู่ที่จุดโฟกัสของพาราโบลอยด์ ลักษณะเฉพาะของจานแบบนี้ คือ ตัว LNB และฟีดซัพพอร์ตจะไม่อยู่ตรงกลางจานและ ส่วนใหญ่จะอยู่นอกบริเวณของทางผ่านคลื่น จานแบบนี้มีข้อดีที่มีพื้นที่ประสิทธิผลค่อนข้างสูง เพราะไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดบังเส้นทางผ่านของคลื่นแต่ก็มีข้อเสียตรงที่โครงสร้างแบบไม่สมมาตรจะทำให้มี Cross Polarization ในทิศทางที่ไม่ใช่ด้านหน้ามีค่อนข้างสูง

 noaa 2 4
 

ภาพที่ 2-2  จานดาวเทียม แบบ ออฟเซ็ท พาราโบลอยด์ ( Offset Paraboloid )

(ที่มา : http://www.sangthongsat.com/_m/article/content/content.php?aid=538666997)

 
 

          2.3  จานดาวเทียมแบบแคสเซ็กเกรน ( Cassegrain Antenna )

          เป็นจานดาวเทียมที่มีตัวสะท้อน 2 อัน ( Dual Reflector ) โดยที่มีตัวสะท้อนหลัก ( Main Reflector) เป็นรูปพาราโบลอยด์และจานสะท้อนรอง ( Sub Reflector ) เป็นรูปไฮเปอร์โบลอยด์ แต่ จานสะท้อนทั้งสองจะมีจุดโฟกัสร่วมกันจานแคสเซ็กเกรนเป็นจานแบบสมมาตรโดยทั่วไปจะมี Cross Polarization ต่ำจานแบบนี้มีใช้ในงานสถานีภาคพื้นดิน ( Earth Station Antenna )

 noaa 2 5

ภาพที่ 2-3  จานดาวเทียมแบบ Cassegrain Antenna

(ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Cassegrain_antenna )

 
 

ข้อมูลจาก : เอกสารวิจัยโครงงานพัฒนาระบบต้นแบบสถานีรับสัญญาณข้อมูลดาวเทียมขนาดเล็ก

โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช, นางสาว ปิยปาณ ค้าสุวรรณ, นางสาว วิลาสินี ปิ่นคล้าย, นาย ธนวัฒน์ ทองมั่นคง, นายปิยะณัฐ สุขสวัสดิ์ 

 
pdf icon
ดาวโหลดเอกสาร