พิมพ์
หมวดหลัก: กองลาดตระเวนและเฝ้าตรวจทางอวกาศ
หมวด: ข่าวเทคโนโลยีอวกาศ
ฮิต: 717
20201216 3 1
จรวด Electron ของบริษัท Rocket Lab
 
บริษัท Rocket Lab มีกำหนดการที่จะส่งดาวเทียมถ่ายภาพด้วยระบบเรดาร์ โดยมีชื่อของภารกิจคือ “The Owl’s Night Begins” ในวันที่ 15 ธ.ค.63 สำหรับบริษัท Synspective ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งดาวเทียมที่จะปฏิบัติภารกิจการสำรวจพื้นโลก ซึ่งดาวเทียมดังกล่าวจะได้รับการยิงส่งไปในอวกาศ ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ในเวลา 1739 ตามเวลาของประเทศไทย โดยใช้จรวดแบบ  Electron rocket
 
โดยที่บริษัท Rocket Lab ตัดสินใจไม่นำชิ้นส่วนแรก (First Stage) ของ จรวดเพื่อนำกลับมาใช้งานอีก โดยที่จรวด Electron นี้เป็นจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเหลว ที่จะยิงส่งดาวเทียม Synspective's StriX-α ซึ่งเป็นดาวเทียมต้นแบบไปที่ชั้นความสูงประมาณ 500 กิโลเมตรเหนือพื้น ในวงโคจรแบบ Sun-synchronous Polar Orbit ที่เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหลังการยิงส่ง ซึ่งดาวเทียม StriX-α (StriX-Alpha) นี้มีน้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม สามารถบรรจุอยู่ในพื้นที่สำหรับการยิงส่ง ณ บริเวณส่วนบนของจรวดนำส่ง Electron ที่มีความสูงประมาณ 18 เมตร ซึ่งการส่งดาวเทียม StriX-α นี้ จะต้องใช้ชิ้นส่วนที่ครอบดาวเทียมบริเวณหัวจรวด (Fairing) ที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บริษัท Rocket Lab ใช้ชิ้นส่วนครอบดาวเทียมแบบใหม่นี้ ไปพร้อมกับการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งาน เช่น การพัฒนาระบบแบตเตอร์รี่ ซึ่งมีข้อดีที่ทำให้จรวดนำส่งแบบ Electron สามารถส่งดาวเทียมที่มีน้ำหนักมากขึ้นสู่ชั้นวงโคจรได้
 
20201216 3 2
การขยายขนาดของชิ้นส่วนที่ครอบดาวเทียมบริเวณหัวจรวด (Fairing)
 
การขยายขนาดของที่ครอบดาวเทียมนี้มีความจำเป็นเพื่อที่จะสามารถสนับสนุนการส่งดาวเทียม StriX-α สู่อวกาศ โดยการปรับปรุงนี้ จะทำให้จรวดนำส่งแบบ Electron สามารถส่งวัตถุที่มีน้ำหนักถึง 300 กิโลกรัมไปที่ชั้นวงโคจรระดับต่ำ หรือสามารถส่งวัตถุขนาด 200 กิโลกรัมไปที่ชั้นวงโคจร 500 กิโลเมตร ในวงโคจรแบบ Sun-synchronous Polar Orbit ซึ่งเป็นชั้นวงโคจรที่ได้รับความนิยมในการยิงส่ง
 
การพัฒนาดังกล่าวทำให้ดาวเทียมมีขีดความสามารถในการส่งวัตถุที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่า 33% ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในส่วนอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น การใส่ร่มชูชีพและอุปกรณ์การกู้คืนชิ้นส่วนแรกของจรวด (First Stage) หลังจากการยิงส่ง
 
บริษัท Rocket Lab สามารถกู้คืนชิ้นส่วนแรกของจรวด (First Stage) เป็นครั้งแรกในการยิงจรวดนำส่งในครั้งล่าสุดของบริษัท เมื่อ 19 ก.ย. 63 โดยต่อไปในอนาคตบริษัทวางแผนจะใช้เครื่องเฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปเก็บชิ้นส่วนของจรวดขณะที่ลดความสูงลงขณะใช้ร่มชูชีพ ซึ่งบริษัท Rocket Lab เคยมีความพยายามในการกู้คืนชิ้นส่วนแรกของจรวดจากมหาสมุทรแปซิฟิค จากการยิงปล่อยจรวดที่คาบสมุทร Mahia บริเวณเกาะเหนือ ของประเทศ New Zealand. ซึ่งการส่งจรวดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
ที่มาของข่าว : https://spaceflightnow.com/2020/12/15/rocket-lab-owls-night-begins-mission-status-center/
แปลและเรียบเรียง : นาวาอากาศเอก เพชรเดช เพชรช่วย