20210421 p1 
 

เมื่อวันที่ 19 เม.ย.2564 ศูนย์ข่าวขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NASA) ได้ประกาศความสำเร็จการบินเที่ยวแรกและเครื่องแรกของอากาศยานแบบเฮลิคอปเตอร์อินเจนนิวตี้ (Ingenuity) บนดาวอังคารหรือดวงดาวอื่นโดยควบคุมการบินมาจากโลก

เจ้าหน้าที่ของ Jet Propulsion Laboratory (JPL) ในแคลิฟอร์เนียได้ยืนยันความสำเร็จจากข้อมูลที่ได้รับเฮลิคอปเตอร์ผ่านโรเวอร์เพอเซอเวอเรนซ์ (Perseverance Rover) ที่เป็นยานขับเคลื่อนภาคพื้นดินบนดาวอังคาร เมื่อวันที่ 19 เม.ย.2564 เวลา 0046 ตามเวลาท้องถิ่นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา หรือเวลา 1446 ตามเวลาประเทศไทย

เฮลิคอปเตอร์อินเจนนิวตี้ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มทำการบิน 0034 ตามเวลาท้องถิ่นแคลิฟอร์เนีย ซี่งตามเวลาบนดาวอังคาร (Local Mean Solar Time) คือ 1233 โดยเป็นเวลาที่เฮลิคอปเตอร์สามารถสร้างพลังงานได้สูงสุดพร้อมทำการบิน

เครื่องวัดความสูง (Altimeter) ของอินเจนนิวตี้ได้ชี้แสดงความสูงที่สามารถบินขึ้นไปเหนือพื้นเท่ากับ 3 เมตรหรือ 10 ฟุต จากนั้นเฮลคอปเตอร์รักษาสภาพการบินอยู่นิ่งกับที่ (Hover) ประมาณ 30 วินาที แล้วลดความสูงและลงพื้นอย่างปลอดภัย โดยใช้เวลาทำการบินได้ทั้งสิ้น 39.1 วินาที สำหรับรายละเอียดข้อมูลอื่นรอการส่งข้อมูลมายังโลกต่อไป

 20210421 p2
 
 

สำหรับการบินครั้งนี้เป็นการบินแบบอัตโนมัติ ซึ่งทำการควบคุมท่าทางการบิน การเคลื่อนที่และการนำร่องผ่านผ่านระบบอัลกอริทึมที่พัฒนาโดย JPL ที่ส่งขึ้นไป โดยไม่ได้มีการควบคุมการบินจากโลกด้วย Joy Stick ตามเวลาจริง (Real Time) เนื่องจากการรับและการส่งข้อมูลระหว่างโลกและดาวอังคารต้องใช้เวลาด้วยระยะทางที่ห่างกันมากและการสื่อสารต้องผ่านดาวเทียมหลายดวงตลอดจนผ่านระบบเนตเวิร์ค Deep Space Network

ด้านโรเวอร์เพอเซอเวอร์แรนซ์ ได้จอดอยู่ใกล้กับตำแหน่งการบินของเฮลิคอปเตอร์อินเจนนิวตี้ มีระยะห่าง 64.3 เมตร หรือ 211 ฟุต โดยทำหน้าที่ถ่ายภาพขณะเฮลิคอปเตอร์ทำการบิน อีกทั้งทำหน้าที่ตัวกลางส่งผ่านข้อมูลจากเฮลิคอปเตอร์มายังโลก

องค์การนาซาให้ชื่อพื้นที่การบินบนดาวอังคารครั้งนี้คือ Martian Airfield ซึ่งคล้ายกับเมื่อครั้งที่พี่น้องตระกูลไรท์ทำการบินครั้งแรกในปี พ.ศ.2446 หรือ ค.ศ.1903 ในพื้นที่การบินที่มีชื่อคือ Wright Brothers Field

ยิ่งไปกว่านั้นองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization หรือ ICAO) และองค์กรการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration หรือ FAA) ได้กำหนดนามเรียกขาน หรือ Call-Sign ของเฮลิคอปเตอร์อินเจนนิวตี้ คือ INGENUITY ที่มีตัวย่อคือ IGY  

ความท้าทายของการบินครั้งนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่ยังไม่ทราบและต้องทำการทดสอบเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านการลอยตัวขึ้นไปเหนือพื้นผิวของดาวอังคารที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลกประมาณหนึ่งในสาม อีกทั้งสภาพบรรยากาศบนดาวอังคารที่มีความดันบรรยากาศเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับโลก ทำให้จำนวนโมเลกุลของอากาศมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโลก สำหรับทำปฏิกิริยาแห่งอากาศกับพื้นที่เบลด (Blade) หรือใบพัดของอินเจนนิวตี้ทำให้เกิดแรงยก (Lift) อันถือได้ว่าการทดสอบการบินนี้เป็นการทดสอบการบินครั้งแรกในอวกาศ

การดำเนินการสำหรับเที่ยวบินต่อไป คาดว่าจะทำการบินในวันที่ 22 เม.ย.64 โดยครั้งนี้จะบินให้สูงกว่าเดิมที่ความสูง 5 เมตร และเคลื่อนที่ออกทางข้างประมาณ 2 เมตร และย้อนกลับมา 2 เมตร แล้วทำการลงจอดตำแหน่งที่ยกตัวขึ้นไป เช่นเดียวกันกับในเที่ยวบินที่สาม ซึ่งจะทำการบินไปประมาณ 50 เมตรและบินกลับมา

สำหรับโครงการ Mars 2020 กำหนดให้มีการดำเนินการบินทดสอบเฮลิคอปเตอร์อินเจนนิวตี้ 1 เดือน นับจากเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ออกจากโรเวอร์เพอร์เซอเวอแรนซ์ โดยองค์การนาซา คาดว่าจะสามารถทำการบินได้ทั้งสิ้น 4 เที่ยวบิน

ด้วยความสำเร็จครั้งนี้ ทำให้วิศวกรออกแบบเฮลิคอปเตอร์มีความคิดที่จะพัฒนาการเพิ่มขนาดจากเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ที่มีน้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม เป็น 25-30 กิโลกรัม สามารถสามารถบรรทุกสิ่งของได้ 4 กิโลกรัมสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์

ความสำเร็จจากการบินครั้งนี้จะเป็นหนทางสำหรับภารกิจอื่นสำหรับการสำรวจดาวอังคารต่อไป

แปลและเรียบเรียง : นาวาอากาศเอก พนม อินทรัศมี

ที่มาของข่าวและภาพ :

https://spacenews.com/ingenuity-success-opens-door-for-future-mars-helicopter-missions/

https://www.nasa.gov/press-release/nasa-s-ingenuity-mars-helicopter-succeeds-in-historic-first-flight

ภาพถ่ายการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ครอบคลุมมากที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนได้เข้ารับชมได้แล้วผ่าน Google Earth โดยเกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง Google Earth, องค์การบริหารการบินอวกาศยุโรป (ESA), คณะกรรมาธิการยุโรป, นาซา และองค์การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รวบรวมภาพถ่ายดาวเทียมจำนวน 24 ล้านภาพ ที่ได้ถูกบันทึกไว้ตลอดช่วง 37 ปีที่ผ่านมา ไปบรรจุลงใน Google Earth ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ได้
 
ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถที่จะดูการเปลี่ยนแปลงทางภูมิประเทศของโลกในช่วงเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ผ่านฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Timelapse ใน Google Earth อีกทั้งยังสามารถสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงอันเป็นผลสืบเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง การขยายตัวของเขตเมือง การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ เป็นต้น ด้านนางรีเบคคา มัวร์ (Rebecca Moore) ผู้อำนวยการ Google Earth กล่าวว่า การพัฒนาครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง โครงการ Copernicus ของสหภาพยุโรปซึ่งมีดาวเทียมถ่ายภาพ Sentinel และโครงการ Landsat ของนาซาและองค์การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา โดยดาวเทียม Sentinel ของสหภาพยุโรปจำนวนหลายดวงที่โคจรอยู่รอบโลกนั้น ได้ถูกออกแบบให้มีภารกิจในการเก็บภาพถ่ายภูมิประเทศในบริเวณต่าง ๆ ของโลก ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของโครงการสำรวจความเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมของสหภาพยุโรป ที่ต้องการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ และสร้างภาพ Timelapse ขึ้นมา
 
20200420 1

ภาพ Timelapse การเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งโคลัมเบีย บริเวณรัฐอลาสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา จาก Google Earth

 

สำหรับโครงการ Copernicus Sentinel-2 นั้น เป็นโครงข่ายดาวเทียมถ่ายภาพที่โคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbiting Satellite) จำนวนสองดวงที่อยู่ในวงโคจรเดียวกันและห่างกัน 180° เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติงาน และความกว้างของแนวถ่ายภาพอยู่ที่ 290 กิโลเมตร โดยจะโคจรผ่านจุดถ่ายภาพเดิมทุก ๆ 5 วัน และมีความละเอียดเชิงพื้นที่อยู่ที่ 10 เมตร

 

ฟังก์ชัน Timelapse นั้น เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านแพลทฟอร์มของ Google ซึ่งการเพิ่มภาพถ่ายดาวเทียมมากกว่า 20 ล้านภาพ ซึ่งถูกถ่ายไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1984 ถึง ค.ศ.2020 นั้น ต้องใช้ระยะเวลาประมวลผลจากคอมพิวเตอร์นับพันเครื่อง ในการเรียบเรียงภาพถ่ายขนาด 20 เพทาไบต์ (1 เพทาไบต์เท่ากับ 1024 เทราไบต์) เพื่อสร้างภาพ Timelapse ขนาด 4.4 เทระพิกเซลขึ้นมา สำหรับการใช้งาน Timelapse นั้น ผู้ใช้สามารถเลือกจุดที่สนใจได้ทุกที่บนโลกเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศในช่วงเวลาต่าง ๆ Google Earth จะทำการอัพเดท Timelapse เป็นประจำทุกปีเนื่องมาจากภาพถ่ายดาวเทียมที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

 

ที่มาของข่าว : https://www.esa.int/Applications/Observing_the_Earth/Satellite_imagery_key_to_powering_Google_Earth

แปลและเรียบเรียง : ร.อ.ณัฐดนัย วิศิษฏ์โยธิน
20210409 2
วันที่ 4 เม.ย.64 อวกาศยาน Crew Dragon ได้ออกจากท่าเชื่อมต่อของสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS) จากที่หนึ่งสู่ที่หนึ่งเนื่องจากได้เข้าสู่ช่วงเดือนที่วุ่นวายของการเดินทางเข้าออกของสถานีอวกาศนานาชาติ
 
            อวกาศยาน Crew Dragon ได้ปลดการเชื่อมต่อออกจากท่าของโมดูล Harmony ของสถานีเมื่อเวลา 20.30 น. ของวันที่ 4 เม.ย. (ตามเวลาประเทศไทย) พร้อมกับนักบินอวกาศ 4 คน ได้เคลื่อนออกจากสถานี 60 เมตร และได้ย้ายตำแหน่งไปเชื่อมต่อกับท่าของโมดูล Zenith และสำเร็จเวลา 21.08 น เป็นครั้งแรกในการควบคุมเปลี่ยนตำแหน่งท่า (Port-relocation maneuver) ของสถานีอวกาศนานาชาติ ที่ทำโดยอวกาศยานพาณิชย์ได้ออกแบบลักษณะการเคลื่อนไหวและท่าทางของอวกาศยานมีความซับซ้อน การเคลื่อนที่ครั้งนี้จะมีประโยชน์ในการเชื่อมต่อสู่ท่าในภารกิจ Crew 2
 

            อวกาศยาน Dragon Crew จะกลับสู่โลกภายในสิ้นเดือนนี้ และจะทำภารกิจบรรทุกสัมภาระในเดือน มิ.ย. โดยอวกาศยานจะเข้าเชื่อมต่อกับท่าของโมดูล Zenith ซึ่งจะมีแขนกลติดกับท่าใช้สำหรับเอาอุปรณ์ออกจากส่วนลำตัวของอวกาศยานได้ ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโมดูล Harmony

 

            สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้สถานีอวกาศนานาชาติสามารถรับรองคนได้ 7 คนในครั้งเดียว โดยรวมถึงนักบินอวกาศจาก NASA 4 คนและจาก JAXA 1 คน ทำให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการเดินอวกาศ (Spacewalks) ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนนักบินอวกาศในการเดินอวกาศได้

 

            หลังจากภารกิจนี้ในวันที่ 9 เม.ย. จะมีการส่งนักบินอวกาศรัสเซีย Oleg Novitsky และ Pyotr Dubrov รวมถึงนักบินอวกาศของ NASA Mark Vander Hei ด้วยอวกาศยาน Soyuz MS-18 เดินทางสู่ ISS และในวันที่ 17 เม.ย. นักบินอวกาศ Rubins จาก NASA นักบินอวกาศรัสเซีย Sergey Ryzhikov and Sergey Kud-Sverchkov จะกลับสู่โลกด้วยอวกาศยาน Soyuz MS-17

 

ที่มาภาพและข่าว: https://spacenews.com/crew-dragon-moves-to-new-docking-port-at-iss/

เรียบเรียงและแปล เรืออากาศตรี กันต์ จุลทะกาญจน์
20210421 jirawat3
 
 ในปี 2006 ยาน New Horizons ขณะกำลังเดินทางออกจากโลกเพื่อผจญภัยกับอวกาศห้วงลึกนอกระบบสุริยะนั้น การสื่อสารกับยานใช้เวลาเพียงแค่หลักนาทีเท่านั้นเพื่อที่จะส่งคำสั่งต่าง ๆ ให้กับยานและรอการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์บนยาน แต่ในปัจจุบันระยะทางจากโลกเพียงหลักล้านกิโลเมตร ตอนนี้ก็กลายเป็นหลักพันล้านไปแล้ว ระยะเวลาในการสื่อสารก็เช่นกัน จากหลักนาทีจนตอนนี้เป็นหลักชั่วโมงแล้ว ในวันที่ 18 เมษายน 2021 เวลา 12:42 UTC ยาน New Horizons เดินทางถึงระยะ 50 หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Units: AU) หมายความว่ามันอยู่ห่างจากโลก 50 เท่าของระยะทางจากโลกไปดวงอาทิตย์
 
 โดยยาน New Horizons ณ ตอนนี้เป็นยานเพียง 1 ใน 5 ลำที่เดินทางผ่านระยะทางเท่านี้ไป ซึ่งก็คือ Voyager 1, Voyager 2, Pioneers 10 และ Pioneers 11 ณ ตอนนี้ด้วยการสื่อสารผ่านทางสัญญาณวิทยุซึ่งเดินทางด้วยความเร็วแสง ยังต้องใช้เวลาถึง 7 ชั่วโมงในการส่งสัญญาณไปหา New Horizons และยังต้องรออีก 7 ชั่วโมงกว่าเราจะรู้ว่ายานได้รับสัญญาณและตอบกลับหรือไม่ รวมเป็น 14 ชั่วโมงในการสื่อสารเต็มรูปแบบรอบหนึ่งองค์การ ESA ของสหภาพยุโรป นอกจากนี้การมีความร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มเติมในการสร้างสถานีอวกาศของประเทศจีนย่อมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของกิจการด้านอวกาศในอนาคต ทำให้การประชุม GLEX 2021 ที่สหพันธรัฐรัสเซียเป็นเจ้าภาพจึงเป็นที่จับตามองของทุกประเทศทั่วโลก
 
 20210421 jirawat4
 

ยานอวกาศทั้ง 5 ลำที่กำลังเดินทางออกนอกระบบสุริยะ – ที่มา NASA/Johns Hopkins APL/Sothwest Research Institute

ขณะเดียวกัน จุดที่ New Horizons อยู่ในตอนนี้ก็เป็นจุดที่ยานทั้ง 4 ก่อนหน้านี้เคยเดินทางมาถึงเช่นกัน หนึ่งในนั้นก็คือ Voyager 1 ซึ่งเป็นวัตถุอวกาศที่อยู่ไกลที่สุดจากโลกซึ่งสร้างโดยมนุษย์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2020 ซึ่งเป็นวันคริสต์มาสอันเงียบเหงาของปี 2020 ยาน New Horizons ได้หันกล้อง Long Range Reconnaissance Imager ไปยังยานรุ่นพี่ของมัน Voyager 1 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกออกไปกว่า 152 AU หรือประมาณ 22.9 พันล้านกิโลเมตร (ห่างจาก New Horizons ประมาณ 18 พันล้านกิโลเมตร) นอกจากนี้ การถ่ายรูปยานอวกาศที่อยู่นอกระบบสุริยะด้วยยานอวกาศที่อยู่ในระบบสุริยะยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 
20210421 jirawat5

ภาพของตำแหน่งที่ Voyager 1 อยู่ (วงกลมสีเหลือง) จากยาน New Horizons ถ่ายเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2020

ที่มา NASA/Johns Hopkins APL/Southwest Research Institute

 

ภาพที่ได้กลับมานั้น มีแต่ความว่างเปล่าของอวกาศ แต่ในความว่างเปล่านั้นมีวัตถุที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ทดแทนความเพียรพยายามของมนุษยชาติที่ชื่อว่า Voyager 1 อยู่ ตำแหน่งของ Voyager 1 ถูกระบุไว้ด้วยวงกลมสีเหลือง แม้เราจะไม่สามารถมองเห็น Voyager 1 ได้เพราะว่าระยะทางของมันนั้นไกลมาก แต่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยการหาตำแหน่งของยานด้วยสัญญาณวิทยุ เช่น การติดตามตำแหน่งของยานอวกาศด้วย Very-long-baseline Interferometry (VLBI) ปัจจุบัน New Horizons เป็นยานที่เดินทางด้วยความเร็วสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยความเร็วกว่า 58,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เชียงใหม่ไปกรุงเทพ 45 วินาที) หลังจากการทำ Gravity-assist ด้วยการ Flyby ผ่านดาวพฤหัสในเดือน กุมภาพันธ์ 2007 ขณะเดียวกันมันยังเป็นยานลำแรกที่บินสำรวจดาวพลูโตด้วย เมื่อ กรกฎาคม 2015 นอกจากนี้มันยังทำ Fly-by ที่ไกลจากโลกที่สุดกับ Arrokoth วัตถุใน Kuiper belt อีกด้วย ยาน New Horizons จะเดินทางออกจากระบบุุริยะสู่ Interstellar Space ในช่วงปี 2040 อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่นิวเคลียร์ของยานนั้นจะมีพลังงานพอสำหรับ New Horizons ได้ถึงช่วงปลายของทศวรรษ 2030 เท่านั้น จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า New Horizons จะมีแบตเตอรี่เหลือตอนที่มันออกจากระบบสุริยะหรือไม่

 

ที่มา : https://spaceth.co/say-hello-to-voyager-1/

แปลและเรียบเรียง : นายจิรวัฒ พลานุสนธิ์

 

 1

SONAT ๒ ในวงโคจร การแสดงภาพของดาวเทียมทดสอบเทคโนโลยีใหม่สำหรับน้ำหนักบรรทุกอิสระสูงและปัญญาประดิษฐ์

ภาพโดย Hakan Kayal / มหาวิทยาลัย Wuerzbur

 
 

การสร้างดาวเทียมด้วยปัญญาประดิษฐ์บนเครื่องบินที่ถูกฝึกในอวกาศ สำหรับโครงการนี้
ศาสตราจารย์ Hakan Kayal จาก Würzburg กำลังได้รับเงิน ๒.๖ ล้านยูโร จากกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน

ทันทีที่ปรากฏเห็ฯหลุมวงกลมบนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน บนภาพถ่ายดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์ ค้นพบน้ำพุร้อน ที่เหวี่ยงน้ำพุอันทรงพลังไปสู่อวกาศ และ ในภาพที่ยานสำรวจดาวอังคารส่งมายังโลกโดย Curiosity พบโครงสร้างที่ดูเหมือนฟอสซิลหนอน
ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ซึ่งบางส่วนดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราวถูกค้นพบโดยบังเอิญ หรือเพราะมนุษย์ใช้เวลามากในการลอดภาพจากดาวเคราะห์ใกล้เคียงของโลก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้ตรวจจับความผิดปกติที่ไม่รู้จักมาก่อนได้ง่ายขึ้นมาก Hakan Kayal ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีอวกาศของ Julius-Maximilians-Universität (JMU) Würzburg ในบาวาเรียประเทศเยอรมนีกล่าว
 

วิทยาศาสตร์ยังอยู่ที่จุดเริ่มต้น

 

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอวกาศ ตามที่ศาสตราจารย์คายัล กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ในสาขานี้ยังอยู่ในวัยเด็ก มีโครงการเพียงไม่กี่โครงการในเรื่องนี้

หากใช้ AI เพื่อตรวจจับปรากฏการณ์ที่ไม่รู้จัก ระบบจะต้องได้รับการฝึกฝนการเรียนรู้ก่อน จะต้องป้อนข้อมูลด้วยสิ่งที่รู้เพื่อที่จะสามารถรับรู้สิ่งที่ไม่รู้จักได้ มีดาวเทียมที่ทำงานด้วย AI อยู่แล้ว AI ของพวกเขาจะได้รับการฝึกฝนบนโลกแล้วส่งขึ้นสู่วงโคจร อย่างไรก็ตามเรามีแผนอื่น ๆ เราต้องการฝึก AI บนดาวเทียมขนาดเล็กภายใต้สภาวะอวกาศ ศาสตราจารย์ JMU กล่าว

โครงการนี้มีความท้าทาย แต่เป็นไปได้ ระบบไอทีขนาดเล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ และเราใช้เวลา
ในการฝึก AI ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ในวงโคจรอาจใช้เวลาหลายวัน

 

ภารกิจระหว่างดาวเคราะห์เป็นเป้าหมายระยะยาว
แต่ทำไมต้องโอนการฝึก AI ไปยังอวกาศไปยังคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมบนโลกจะง่ายกว่ามาก นั่นเป็นเพราะ Hakan Kayal มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคต เขาต้องการใช้ดาวเทียมขนาดเล็กที่มี AI ไม่เพียงแต่เพื่อสังเกตการณ์โลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภารกิจระหว่างดาวเคราะห์ด้วย เพื่อค้นหาปรากฏการณ์ต่างดาวใหม่ ๆ บางทีอาจเป็นร่องรอยของหน่วยสืบราชการลับนอกโลก

ทันทีที่คุณไปที่ดาวเคราะห์การสื่อสารกับดาวเทียมจะพบกับปัญหาคอขวด ศาสตราจารย์กล่าว
ด้วยระยะทางที่เพิ่มขึ้นจากโลกการถ่ายโอนข้อมูลจึงใช้เวลานานขึ้น คุณไม่สามารถส่งข้อมูลไปกลับได้
นั่นเป็นเหตุผลที่ AI ต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองบนดาวเทียม และจะต้องรายงานการค้นพบ ที่เกี่ยวข้องกับดาวโลกเท่านั้น

 

คาดว่าจะเปิดตัวสู่วงโคจรในปี พ.ศ.๒๕๖๗

ทีมงานของ Kayal รอบ ๆ หัวหน้าโครงการ Oleksii Balagurin จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับดาวเทียม SONATE-2 ขนาดเล็กและทดสอบในวงโคจร กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของรัฐบาลกลางประเทศเยอรมนี
กำลังให้เงินสนับสนุนโครงการ ๒.๖ ล้านยูโร โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรในฤดูใบไม้ผลิในปี พ.ศ.๒๕๖๗ ภารกิจนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้เวลาหนึ่งปี

ดาวเทียมขนาดเล็กจาก Würzburg จะมีรูปทรงกล่อง มีขนาดประมาณ (๓๐x๒๐x๑๐ เซนติเมตร)
กล้องจะถ่ายภาพในช่วงสเปกตรัมที่แตกต่างกันและจะมีโลกในมุมมองเสมอ ข้อมูลภาพจะไหลเข้าสู่ AI ออนบอร์ด
ซึ่งจะจดจำและจัดประเภทออบเจ็กต์โดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีนี้จะได้รับการทดสอบอย่างละเอียดรอบโลก
ก่อนที่จะสามารถเดินทางระหว่างดาวเคราะห์ได้ในภายหลัง ซึ่ง Hakan Kayal มีภารกิจในอนาคตที่เรียกว่า SONATE-X อยู่แล้วในแผนการวิจัยของเขา โดย X ย่อมาจากต่างดาว

 

ความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน

SONATE-2 จะมีคุณสมบัติที่เป็นนวัตกรรมใหม่และมีคุณสมบัติอิสระสูงบนแผงวงจร เมื่อเทียบกับดาวเทียม SONATE รุ่นก่อน ระบบประมวลผลข้อมูลเซ็นเซอร์จะถูกย่อส่วนเพิ่มเติม และทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของบัสดาวเทียมประเภทใหม่ ๆ เช่นเซ็นเซอร์ตรวจจับดาวที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับการควบคุมท่าทางแบบอิสระ กล้องจะไม่เพียงตรวจจับและบันทึกวัตถุที่หยุดนิ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปรากฏการณ์ชั่วคราว เช่นฟ้าผ่าหรืออุกกาบาตอีกด้วย

ทีม SONATE-2 จะประกอบด้วยกำลังพลประมาณสิบคน นักเรียนยังสามารถเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยหรือ
ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท การฝึกอบรมคนรุ่นต่อไปในเทคโนโลยีล้ำสมัยนี้
มีสถานที่ในโครงการ นอกเหนือจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว JMU ยังเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีปริญญาโทสาขาสารสนเทศการบินและอวกาศ และ หลักสูตรปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีดาวเทียม

โครงการ SONATE-2 ได้รับทุนจาก German Aerospace Center (DLR) ด้วยเงินทุนจากกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของรัฐบาลกลาง (BMWi) ตามมติของ German Bundestag (FKZ 50RU2100)

 

ที่มา https://scitechdaily.com/detecting-unknown-anomalies-artificial-intelligence-for-space/

แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกยุทธนา สุพรรณกลาง

 

 

 

 

 

 

 
 

 

            ผู้โดยสารบนเครื่องบินจะสามารถสื่อสารกับบุคคลที่อยู่บนพื้นโลกด้วยการสื่อสารด้วยระบบเลเซอร์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทผู้ผลิตดาวเทียมอย่าง แอร์บัส (Airbus) และองค์การเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งเนเธอร์แลนด์ (TNO) โดยการพัฒนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่ปลอดภัยด้วยระบบเลเซอร์ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ภายใต้ชื่อ “ScyLight”

 
20210409 1

การใช้งานอินเทอร์เน็ตบนเครื่องบิน (แหล่งที่มา : The European Space Agency)

 

            การสื่อสารด้วยระบบเลเซอร์นั้น นอกจากจะทำให้การรับส่งข้อมูลมีอัตราที่รวดเร็วแล้ว ยังมีความปลอดภัย มีความยืดหยุ่นและเมื่อเปรียบเทียบกับคลื่นวิทยุที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น การส่งข้อมูลด้วยระบบเลเซอร์จะถูกจารกรรมและรบกวนสัญญาณได้ยากกว่าเพราะมีขนาดความกว้างของสัญญาณที่น้อยกว่ามาก โดยมีการคาดการณ์ว่าบริษัทแอร์บัสและผู้ร่วมพัฒนาจะทำการออกแบบ ก่อสร้างและทดสอบสถานีรับส่งสัญญาณภายในห้องทดลองได้ในช่วงปลายปีค.ศ.2021 และในปีถัดมาระบบสื่อสารรูปแบบนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “UltraAir” จะถูกติดตั้งที่สถานีรับส่งสัญญาณของ ESA ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเทเนรีฟ ประเทศสเปน เพื่อทำการทดสอบการรับส่งข้อมูลกับตัวรับส่งสัญญาณของดาวเทียมสื่อสาร Alphasat ซึ่งอยู่โคจรอยู่ห่างโลกออกไปประมาณ 36,000 กิโลเมตร หรือบริเวณวงโคจรค้างฟ้า และภายในช่วงกลางปีค.ศ. 2022 ระบบ UltraAir จะถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินเพื่อทำการทดสอบ

 

            การพัฒนาเทคโนโลยีระบบ UltraAir นี้เป็นการปูทางไปสู่ระบบการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงในอัตราหลายกิกะไบต์ภายในหนึ่งวินาที และในขณะเดียวกันยังสามารถป้องกันการจรกรรมข้อมูล ตลอดจนการรบกวนสัญญาณคลื่นได้อีกด้วย โดยในระยะยาวนั้นระบบ UltraAir จะทำให้ผู้โดยสารบนเครื่องบินสามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านระบบที่เรียกว่า EDRS (European Data Relay System) หรือที่รู้จักกันในชื่อ SpaceDataHighway ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบดาวเทียมวงโคจรต่ำหรือ Low-Earth Orbit Satellites กับผู้ใช้งานที่อยู่บนพื้นโลก

 
ที่มาของข่าว : https://www.esa.int/Applications/Telecommunications_Integrated_Applications/Optical_links_to_connect_air_passengers_securely
แปลและเรียบเรียง : ร.อ.ณัฐดนัย วิศิษฏ์โยธิน

อเช้าวันที่ 19 เม.ย.64 เฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ประสบความสำเร็จสำหรับเที่ยวบินแรกบนดาวอีกดวงหนึ่งนอกจากโลก โดยเฮลิคอปเตอร์น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม ได้บินขึ้นประมาณ 3 เมตร เหนือพื้นของ Jezero Crater และรักษาระดับในอากาศที่เบาบางของดาวอังคารอยู่ถึง 39 วินาที และลงจอดบนจุดที่บินขึ้นได้อย่างแม่นยำเหมือนจับวาง

Ingenuity ถูกบันทึกเป็นสารคดีโดย Perseverance Rover ซึ่งบันทึกจากระยะ 70 เมตรห่างออกไปด้วยระบบกล้องความละเอียดสูง Powerful Mastcam-Z camera

 

20210421 ingenuityfirstflight1

เฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ลงจอดด้วยอวกาศยาน Perseverance ภายในพื้นที่ Jezero เมื่อ 18 ก.พ.64 และถูกปล่อยเพื่อไปปฏิบัติการจาก Rover เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ซึ่งใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์บรรทุกกล้องจำนวน 2 ตัว แต่ไม่มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และครั้งนี้ถือเป็นการสาธิตเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อแสดงว่าเที่ยวบินที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์นั้นเป็นไปได้บนดาวอังคารซึ่งมีชั้นบรรยากาศหนาแน่นเพียงแค่ 1% เมื่อเทียบกับโลกที่ระดับน้ำทะเล

ภารกิจหลักของ Perserverance คือค้นหาสัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตโบราณบนดาวดาวอังคารและเก็บตัวอย่างมายังโลก แต่ภารกิจดังกล่าวของ Rover จะยังไม่เริ่มจนกว่าภารกิจเที่ยวบินของ Ingenuity ในระยะเวลาหนึ่งเดือนจะจบลง

 20210421 ingenuityfirstflight2

ภาพถ่ายโดยเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ซึ่งแสดงเงาของเฮลิคอปเตอร์บนพื้นของดาวอังคาร เครดิต : NASA TV

เรียบเรียงโดย : น.ต.ชาคริต จันทมิตร

ที่มา : https://www.space.com/mars-helicopter-ingenuity-first-flight-video

 
1

SONAT ๒ ในวงโคจร การแสดงภาพของดาวเทียมทดสอบเทคโนโลยีใหม่สำหรับน้ำหนักบรรทุกอิสระสูงและปัญญาประดิษฐ์
ภาพโดย Hakan Kayal / มหาวิทยาลัย Wuerzbur

 
           

การสร้างดาวเทียมด้วยปัญญาประดิษฐ์บนเครื่องบินที่ถูกฝึกในอวกาศ สำหรับโครงการนี้
ศาสตราจารย์ Hakan Kayal จาก Würzburg กำลังได้รับเงิน ๒.๖ ล้านยูโร จากกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานแห่งสหพันธรัฐเยอรมันทันทีที่ปรากฏเห็ฯหลุมวงกลมบนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน บนภาพถ่ายดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์ ค้นพบน้ำพุร้อน ที่เหวี่ยงน้ำพุอันทรงพลังไปสู่อวกาศ และ ในภาพที่ยานสำรวจดาวอังคารส่งมายังโลกโดย Curiosity พบโครงสร้างที่ดูเหมือนฟอสซิลหนอน

ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ซึ่งบางส่วนดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราวถูกค้นพบโดยบังเอิญ หรือเพราะมนุษย์ใช้เวลามากในการลอดภาพจากดาวเคราะห์ใกล้เคียงของโลก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้ตรวจจับความผิดปกติที่ไม่รู้จักมาก่อนได้ง่ายขึ้นมาก Hakan Kayal ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีอวกาศของ Julius-Maximilians-Universität (JMU) Würzburg ในบาวาเรียประเทศเยอรมนีกล่าว

วิทยาศาสตร์ยังอยู่ที่จุดเริ่มต้น

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอวกาศ ตามที่ศาสตราจารย์คายัล กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ในสาขานี้ยังอยู่ในวัยเด็ก มีโครงการเพียงไม่กี่โครงการในเรื่องนี้

หากใช้ AI เพื่อตรวจจับปรากฏการณ์ที่ไม่รู้จัก ระบบจะต้องได้รับการฝึกฝนการเรียนรู้ก่อน จะต้องป้อนข้อมูลด้วยสิ่งที่รู้เพื่อที่จะสามารถรับรู้สิ่งที่ไม่รู้จักได้ มีดาวเทียมที่ทำงานด้วย AI อยู่แล้ว AI ของพวกเขาจะได้รับการฝึกฝนบนโลกแล้วส่งขึ้นสู่วงโคจร อย่างไรก็ตามเรามีแผนอื่น ๆ เราต้องการฝึก AI บนดาวเทียมขนาดเล็กภายใต้สภาวะอวกาศ ศาสตราจารย์ JMU กล่าว

โครงการนี้มีความท้าทาย แต่เป็นไปได้ ระบบไอทีขนาดเล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ และเราใช้เวลา
ในการฝึก AI ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ในวงโคจรอาจใช้เวลาหลายวัน

ภารกิจระหว่างดาวเคราะห์เป็นเป้าหมายระยะยาว

แต่ทำไมต้องโอนการฝึก AI ไปยังอวกาศไปยังคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมบนโลกจะง่ายกว่ามาก นั่นเป็นเพราะ Hakan Kayal มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคต เขาต้องการใช้ดาวเทียมขนาดเล็กที่มี AI ไม่เพียงแต่เพื่อสังเกตการณ์โลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภารกิจระหว่างดาวเคราะห์ด้วย เพื่อค้นหาปรากฏการณ์ต่างดาวใหม่ ๆ บางทีอาจเป็นร่องรอยของหน่วยสืบราชการลับนอกโลก

ทันทีที่คุณไปที่ดาวเคราะห์การสื่อสารกับดาวเทียมจะพบกับปัญหาคอขวด ศาสตราจารย์กล่าว
ด้วยระยะทางที่เพิ่มขึ้นจากโลกการถ่ายโอนข้อมูลจึงใช้เวลานานขึ้น คุณไม่สามารถส่งข้อมูลไปกลับได้
นั่นเป็นเหตุผลที่ AI ต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองบนดาวเทียม และจะต้องรายงานการค้นพบ ที่เกี่ยวข้องกับดาวโลกเท่านั้น

คาดว่าจะเปิดตัวสู่วงโคจรในปี พ.ศ.๒๕๖๗

ทีมงานของ Kayal รอบ ๆ หัวหน้าโครงการ Oleksii Balagurin จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับดาวเทียม SONATE-2 ขนาดเล็กและทดสอบในวงโคจร กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของรัฐบาลกลางประเทศเยอรมนี
กำลังให้เงินสนับสนุนโครงการ ๒.๖ ล้านยูโร โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรในฤดูใบไม้ผลิในปี พ.ศ.๒๕๖๗ ภารกิจนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้เวลาหนึ่งปี

ดาวเทียมขนาดเล็กจาก Würzburg จะมีรูปทรงกล่อง มีขนาดประมาณ (๓๐x๒๐x๑๐ เซนติเมตร)
กล้องจะถ่ายภาพในช่วงสเปกตรัมที่แตกต่างกันและจะมีโลกในมุมมองเสมอ ข้อมูลภาพจะไหลเข้าสู่ AI ออนบอร์ด
ซึ่งจะจดจำและจัดประเภทออบเจ็กต์โดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีนี้จะได้รับการทดสอบอย่างละเอียดรอบโลก
ก่อนที่จะสามารถเดินทางระหว่างดาวเคราะห์ได้ในภายหลัง ซึ่ง Hakan Kayal มีภารกิจในอนาคตที่เรียกว่า SONATE-X อยู่แล้วในแผนการวิจัยของเขา โดย X ย่อมาจากต่างดาว

ความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน

SONATE-2 จะมีคุณสมบัติที่เป็นนวัตกรรมใหม่และมีคุณสมบัติอิสระสูงบนแผงวงจร เมื่อเทียบกับดาวเทียม SONATE รุ่นก่อน ระบบประมวลผลข้อมูลเซ็นเซอร์จะถูกย่อส่วนเพิ่มเติม และทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของบัสดาวเทียมประเภทใหม่ ๆ เช่นเซ็นเซอร์ตรวจจับดาวที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับการควบคุมท่าทางแบบอิสระ กล้องจะไม่เพียงตรวจจับและบันทึกวัตถุที่หยุดนิ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปรากฏการณ์ชั่วคราว เช่นฟ้าผ่าหรืออุกกาบาตอีกด้วย

ทีม SONATE-2 จะประกอบด้วยกำลังพลประมาณสิบคน นักเรียนยังสามารถเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยหรือ
ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท การฝึกอบรมคนรุ่นต่อไปในเทคโนโลยีล้ำสมัยนี้
มีสถานที่ในโครงการ นอกเหนือจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว JMU ยังเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีปริญญาโทสาขาสารสนเทศการบินและอวกาศ และ หลักสูตรปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีดาวเทียม

โครงการ SONATE-2 ได้รับทุนจาก German Aerospace Center (DLR) ด้วยเงินทุนจากกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของรัฐบาลกลาง (BMWi) ตามมติของ German Bundestag (FKZ 50RU2100)

ที่มา https://scitechdaily.com/detecting-unknown-anomalies-artificial-intelligence-for-space/

แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกยุทธนา สุพรรณกลาง

 
           

 

 
          
 
ที่มา : https://www.space.com/nokia-4g-moon-network-bad-for-radio-astronomy
แปลและเรียบเรียงโดย ร.ท.สุทธิพงษ์ โตสงวน
            Ingenuity เฮลิคอปเตอร์จอมอัจฉริยะ ในภารกิจสำรวจดาวอังคารของ NASA กำลังตรวจสอบความพร้อมขั้นสุดท้ายก่อนที่จะแยกตัวออกจาก Perseverance rover เพื่อเตรียมการบินครั้งประวัติศาสตร์บนดาวอังคาร ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 64 นี้
 
            นี่จะเป็นการทดสอบการบังคับอากาศยานด้วยระบบนำทางครั้งแรกจากอีกโลกหนึ่ง โดย NASA วางแผนให้เที่ยวบินนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 64 แต่ก่อนหน้านั้น เจ้านกน้อยจอมอัจฉริยะลำนี้จะต้องแยกตัวออกจากใต้ท้องของ Perseverance rover เสียก่อน เนื่องจากการเดินทางอันยาวไกลจากโลกสู่ดาวอังคาร เฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ได้ถูกเก็บไว้ที่ใต้ท้องของ Perseverance rover สำหรับกระบวนการแยกตัวนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จากภาพที่ได้รับมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 64 (รูปด้านล่าง) Ingenuity สามารถกางฐานทั้ง 4 ด้านออกได้เรียบร้อย ขณะที่ตัวของ Ingenuity ยังคงติดอยูกับ Perseverance rover หลังจากระบบทุกอย่างเรียบร้อย Perseverance rover จะนำ Ingenuity ไปวางลงบนจุดศูนย์กลางของลานจอดที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้า โดยเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 33 ฟุต (10 เมตร) ซึ่งทีมควบคุมและทีมวิศวกรของ NASA ได้เลือกพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับเฮลิคอปเตอร์เล็ก ๆ ลำนี้
 
20210405 2
 
            จากนั้น Perseverance rover จะเคลื่อนตัวไปจอดห่างออกไปในระยะที่สามารถมองเห็น Ingenuity ได้ และให้เวลา Ingenuity ในการชาร์จแบตเตอรี่พลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นทีมงานจะทำการทดสอบทุกระบบอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า Ingenuity พร้อมที่จะทำการบิน โดยเที่ยวบินแรกของ Ingenuity มีแผนที่จะบินขึ้นเหนือพื้นผิวของดาวอังคารที่ความสูง 10 ฟุต (3 ม.) และทำการลอยตัว (Hovering) เป็นเวลาประมาณ 30 วินาที และวางตัวลงบนพื้นผิว เป็นอันจบภารกิจในการบินเที่ยวบินแรก หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี จะใช้เวลาในการทำการบินเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ในการบินครั้งนี้ Perseverance rover ที่จอดในระยะที่มองเห็นได้ด้วยกล้อง จะคอยทำการเก็บภาพการบินจากระยะที่ปลอดภัย สำหรับภารกิจสู่ดาวอังคารของ NASA ในครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารและเก็บตัวอย่างหิน รอนำกลับมายังโลกเพื่อการวิจัยในภารกิจเที่ยวต่อๆไป
 
ที่มา : https://www.space.com/mars-helicopter-unfolds-legs-perseverance-rover-video
แปลและเรียบเรียง : ricebird572