พิมพ์
หมวดหลัก: กองลาดตระเวนและเฝ้าตรวจทางอวกาศ
หมวด: ข่าวเทคโนโลยีอวกาศ
ฮิต: 756
20201221 3
 
            K. Sivan ประธานองค์การอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation: ISRO) กล่าวว่า ISRO จะส่งดาวเทียมที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ขึ้นสู่อวกาศ ได้แก่ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติชื่อ Amazonia จากบราซิล และดาวเทียมของอินเดียจำนวนสามดวงที่ทำขึ้นโดยบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ Pixxel ในไตรมาสแรกของปี 2021 โดยจรวด rocket Polar Satellite Launch Vehicle-C51 (PSLV-C51) ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่อินเดียใช้เวลากว่าแปดเดือนในการจัดตั้ง Indian National Space Promotion and Authorisation Centre (IN-SPACe) ซึ่งรัฐบาลประกาศว่าจะเปิดโอกาศให้ภาคอวกาศส่วนเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการอวกาศในประเทศ และทำให้เป็นดาวเทียมดวงแรกจากบริษัทสตาร์ทอัพจากเมืองบังกาลอร์ที่จะส่งขึ้นสู่อวกาศจริง ซึ่งบริษัทนี้ยังมีแผนที่จะส่งเป็นกลุ่มดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติจำนวน 30 ดวงภายในสิ้นปี 2022 ซึ่ง Pixxel เป็นดาวเทียมดวงแรกสำหรับใช้สาธิตเทคโนโลยี และทาง ISRO จะเสนอราคาพิเศษสำหรับการส่งดาวเทียมจำนวนมากให้
 
            Awais Ahmed CEO ของบจก. Syzygy Space Technologies ซึ่งเป็นผู้ผลิต Pixxel กล่าวว่า ดาวเทียมดวงที่สองของบริษัทฯ จะส่งโดยบจก. SpaceX ในปีหน้า ซึ่งทางบริษัทฯ ได้แสวงหาหลายทางเลือก รวมถึงจรวดของประเทศรัสเซียอีกด้วย แต่ในขณะนี้ ISRO เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการขนส่ง ซึ่งสะดวกสำหรับบริษัทฯ ที่สุด นอกจากนี้ทางบริษัทยังสนใจ ISRO's Small Satellite Launch Vehicle (SSLV) ซึ่งอาจมีราคาถูกลงสำหรับการส่งดาวเทียมในอนาคต เนื่องจากโดยปกติแล้ว บริษัทจรวดฯ จะคิดค่าบริการขนส่งราว 20,000 – 25,000 รูปี หรือประมาณ 8,000 – 10,000 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่ง SSLV อาจจะมีราคาที่ถูกกว่า
 
            นอกจากนี้ จรวด PSLV-C51 จะบรรทุกดาวเทียมสื่อสารที่สร้างขึ้นโดยนักเรียน Space Kidz India และดาวเทียมที่สร้างร่วมกันจากมหาวิทยาลัยอินเดียจำนวน 3 มหาวิทยาลัยอีกด้วย
 
ที่มาของข่าวและภาพ : https://weather.com/en-IN/india/space/news/2020-12-17-isro-to-start-2021-with-launch-of-brazils-earth-observation-satellite
แปลและเรียบเรียง : นาวาอากาศตรีหญิง ผณินทรา สุนทรหฤทัย