update2019 10 21 starship

 

อีลอน มัสก์ CEO ของบริษัท SpaceX ได้แถลงต่อสื่อมวลชน ว่าจะเร่งพัฒนายานอวกาศ Starship โดยจะเริ่มมีการบินทดสอบยานอวกาศดังกล่าวภายในปลายปีนี้ และจะเริ่มปฏิบัติภารกิจและนำมาใช้งานจริงภายในไตรมาสแรกของปี 2020 โดยยานอวกาศ Starship ของบริษัท SpaceX ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ

 

              1. Starship Spacecraft (2nd Stage) ซึ่งเป็นส่วนของยานอวกาศที่มีลักษณะคล้ายกับกระสวยอวกาศ (Space Shuttle) โดยมีรูปร่างคล้ายกับเครื่องบิน ใช้สำหรับการบรรทุกลูกเรือ ผู้โดยสาร และ Payload สำหรับการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในอวกาศ 

 
 1
 

              2. Super Heavy Rocket (1st Stage) ซึ่งเป็นส่วนของเครื่องยนต์จรวด ใช้เป็นแรงขับหลักในส่วนแรก ในการนำ Starship เอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก เดินทางขึ้นสู่อวกาศไปยังวงโคจรไปยังตำแหน่งหรือระดับความสูงที่ต้องการ และปฏิบัติภารกิจตามที่ได้วางแผนไว้

 2

 

ยานอวกาศ Starship ของบริษัท SpaceX ได้พัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ จากรูปแบบเดิมของกระสวยอวกาศของ NASA เพิ่มเติม โดยเน้นการนำส่วนประกอบของยานอวกาศ Starship ทุกส่วนกลับมาใช้ใหม่หลังจากปฏิบัติภารกิจได้ โดยทั้งในส่วนของ Starship Spacecraft หลังจากเสร็จภารกิจลงจอดบนโลกแล้ว จะสามารถขึ้นปฏิบัติภารกิจครั้งใหม่ได้ ซึ่งจะเหมือนกับส่วนของ Winged Orbiter ของ Space Shuttle ของ NASA สำหรับในส่วนของ Super Heavy Rocket หลังจากเสร็จภารกิจใช้เชื้อเพลิงจนหมด จะถูกปล่อยออกมาจาก Starship Spacecraft และลงจอดบนโลกได้ และสามารถนำกลับมาเติมเชื้อเพลิงและปฏิบัติภารกิจในครั้งใหม่ได้ ซึ่งจะต่างกับในส่วนของ External Tank (ET) ของ Space Shuttle ของ NASA ที่จะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากจะถูกปล่อยออกมาและเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของโลกจนหมด

3

 

อีลอน มัสก์ ได้ออกแบบยานอวกาศ Starship ให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างหลากหลาย เช่น การส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร (Satellite Delivery) การขนส่งทางอวกาศจากภาคพื้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station Transport) การเดินทางและลงจอดบนดวงจันทร์ (Moon Landing Mission) และการเดินทางไปยังดาวดวงอื่น ๆ (Interplanetary Mission) 

4
5

 

ที่มาของข่าว

https://www.spacex.com

https://www.spacenews.com

แปลและเรียบเรียงโดย

น.ท.อิทธิ  ยุทธยานนท์