20201214
ภาพเปลวไฟยาวที่ปะทุจากดวงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2010 โดยจับภาพได้จากดาวเทียม STEREO
ในขณะที่มีแสงอัลตราไวโอเลตมหาศาล เปลวไฟเหล่านี้มีความยาวเกือบล้านกิโลเมตร
 
            จากเวทีการพูดคุยในการประชุม virtual American Geophysical Union fall นั้นแสดงให้เห็นว่า นักวิจัยพยายามหาหนทางพัฒนาการพยากรณ์สภาพอวกาศ โดยต้องการข้อมูลที่มีความละเอียดจากผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพอวกาศในอดีต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเครื่องบิน แหล่งพลังงานไฟฟ้าแรงสูง หรือผู้ให้บริการดาวเทียม
 
            Alexa Jean Halford นักฟิสิกส์ด้านสภาพอวกาศซึ่งทำงานอยู่ที่ NASA Goddard Space Flight Center กล่าวว่า หนึ่งในสิ่งที่ขัดขวางการเรียนรู้สภาพอวกาศก็คือไม่รู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เนื่องจากในบางครั้งส่วนอุตสาหกรรมไม่ต้องการแบ่งปันข้อมูลเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ถ้าเราสามารถรับรู้ขนิดของปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องจากสภาพอวกาศว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อดาวเทียม การสื่อสาร หรือแหล่งพลังงานไฟฟ้า จะช่วยให้ตั้งเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือที่ดีขึ้นได้
 
            ในบางกรณี บริษัทและหน่วยงานรัฐบาลได้แบ่งปันข้อมูลกับนักวิจัยเพื่อพยายามช่วยเหลือในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้พยากรณ์สภาพอวกาศ ตัวอย่างเช่น The Aerospace Corp., ที่แบ่งปันข้อมูลที่เกิดขึ้นกับดาวเทียมของพวกเขา และบริษัทด้านไฟฟ้าของสเปนที่แบ่งบันข้อมูลกับนักวิจัยที่สร้างเครื่องมือในการพยากรณ์กระแสเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กโลก อย่างไรก็ตาม บริษัทและหน่วยงานรัฐบาลต่างไม่สนใจที่จะเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น หลายปีที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์พายุสุริยะส่งผลกระทบต่อข้อมูล GPS ก่อให้เกิดภาพที่บิดเบือนในระบบนำทางการบิน ซึ่งนักวิจัยต่างรู้ว่ามันเกิดปัญหาแต่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นระยะเวลาหลายปี Jasmina Magdalenic นักวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานวิเคราะห้อมูลผลกระทบจากดวงอาทิตย์ แห่งหอดูดาวแห่งชาติเบลเยี่ยม กล่าวว่า เหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นเรื่องใหญ่ แต่เหตุการณ์เล็กๆก็ไม่มีข้อมูลเช่นกัน
 
            หน่วยงานรัฐบาลและบริษัทอาจจะลังเลที่จะเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะซึ่งอาจเปิดเผยประเด็นหรือความไม่มั่นคงของระบบเครือข่าย ในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ นักวิจัยด้านสภาพอวกาศจำเป็นต้องเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอวกาศ และจูงใจให้คนเหล่านั้นเข้าใจว่านักวิจัยต้องการช่วยเหลือพวกเขา คุณ Halford กล่าว
 
ที่มาของข่าวและภาพ: https://spacenews.com/space-weather-researchers-need-impact-data/
แปลและเรียบเรียง: นาวาอากาศตรีหญิง ผณินทรา สุนทรหฤทัย