20201205 AscenderLeaveLander
 
           ภารกิจของอวกาศยาน Hope ของสหรัฐเอมิเรตส์ ที่กำลังเดินทางไปยังดาวอังคาร โดยได้เคลื่อนที่ออกจากวงโคจรรอบโลกอย่างราบลื่น จึงทำให้สามารถทำการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ก่อนจะถึงปลายทาง ณ ดาวอังคาร เป็นของแถมในภารกิจนี้ด้วย
 
           อวกาศยาน Hope ได้ถูกนำส่งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่าน และจะถึงวงโคจรรอบดาวอังคารในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งจะไปทำการศึกษาเรื่องชั้นบรรยากาศและสภาพอากาศของดาวอังคาร โดยการสำรวจนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงการทำงานของฟองก๊าซในดาวอังคารแต่เนื่องจากความถูกต้องแม่นยำของการควบคุมการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ใน 3 ครั้งแรกของการโคจรมีความแม่นยำกว่าที่ทีมวิศวกรได้คำนวณไว้ ทีมวิศวกรที่ควบคุมอวกาศยาน Hope จึงตัดสินใจที่จะมีการให้ยาน Hope ใช้เวลาเล็กน้อยในการหันไปเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมในระหว่างทางที่ก่อนจะถึงดาวอังคาร
 
           Hessa Ai Matroushi รองผู้จัดการโครงการวิทยาศาสตร์ของ Hope Mission กล่าวว่า นี่เป็นอีกหนึ่งวัตถุประสงค์ของภารกิจในการมอบสิ่งใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ให้กับประชาคมโลก นักวิทยาศาสตร์และผู้จัดการของภารกิจ Hope ได้รู้มาระยะหนึ่งแล้วว่าการเดินทางไปยังดาวอังคารครั้งนี้ จะสามารถทำการสำรวจบางอย่างเพิ่มเติมในการเดินทางช่วงหลังซึ่งมีระยะทั้งหมดประมาณ 500,000 กิโลเมตร แต่หลังจากได้รับการยืนยันหลังจากที่ยานเปลี่ยนการเคลื่อนที่ 3 ครั้งแรก แล้วพบว่ามีความแม่นยำเพียงพอ และต้องการปรับการเคลื่อนที่อีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงตัดสินใจที่จะสำรวจทางวิทยาศาสตร์ทันทีในช่วงระหว่างเดินทางถึงดาวอังคาร
 
           หนึ่งในของแถมของการสำรวจครั้งนี้คือ จะได้เจอกับทีมสำรวจ BepiColomboซึ่งเป็นภารกิจร่วมของยุโรปกับญี่ปุ่นในการสำรวจดาวพุธ ที่ถูกนำส่งเมื่อตุลาคม 2018 และได้เริ่มการเดินทางไปยังดาวพุธซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 7 ปี
 
           ในระบบสุริยะมีไฮโดรเจนระหว่างดาวเคราะห์อยู่ทุกที่ แต่หนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของภารกิจ Hope คือการวัดไฮโดรเจนชนิดต่าง ๆ ที่หลุดออกจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารการสังเกตการณ์ที่ได้ร่วมกับ BepiColombo จะช่วยให้ทีมของ Hope แยกความแตกต่างของไฮโดรเจนที่ระหว่างดาวเคราะห์และบนดาวอังคาร ครั้นที่อวกาศยานเข้าใกล้ดาวอังคารมากขึ้น
 
           ทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด และใช้ประโยชน์จากภารกิจนี้ให้มากที่สุด เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และมนุษยชาติโดยทั่วไป
 
แหล่งที่มา : https://www.space.com/hope-uae-mars-spacecraft-extra-science
เรียบเรียงโดย : จ.ต.สุณัฏฐชา อักษรวงศ์