ถึงแม้ว่าจรวด Soyuz-2 ได้ทำการส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรมาแล้วหลายครั้ง แต่การนำส่งดาวเทียมในครั้งต่อไป ซึ่งถูกกำหนดไว้ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยทำการปล่อยจรวดจาก Site 31/6 ท่าอวกาศยาน Baikonur Cosmodrome สาธารณรัฐคาซัคสถาน จะสามารถถูกนับได้ว่าเป็นการนำส่งในเชิงพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบครั้งแรก ซึ่งดำเนินการโดย GK Launch Services ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย Glavkosmos (บริษัทลูกของ ROSCOSMOS State Space Corporation) และ International Space Company Kosmotras ของสหพันธรัฐรัสเซีย
 
20210315 0
จรวด Soyuz 2.1a Fregat
 
การนำส่งในครั้งนี้จะดำเนินการโดยใช้จรวด Soyuz 2.1a Fregat ซึ่งมีส่วนประกอบรวม 4 Stages สามารถสร้าง Liftoff Thrust ได้ 4,550 kN โครงสร้างจรวดมีความสูงเท่ากับ 46.94 m Fairing Height เท่ากับ 10.2 m และ Fairing Diameter เท่ากับ 4.11 m ได้รับการออกแบบเพื่อนำส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรทั้งแบบ Low Earth Orbit (LEO) และ Geostationary Transfer Orbit (GTO) โดยสามารถรองรับ Payload เข้าสู่วงโคจรทั้งสองแบบได้ 7,020 และ 2,810 kg ตามลำดับ ในครั้งนี้ จรวด Soyuz 2.1a Fregat มีภารกิจในการส่งดาวเทียมหลายดวง (Rideshare) ในวงโคจรแบบ Sun Synchronous Orbit (SSO) ที่ความสูงในระดับ LEO ประมาณ 500 km เหนือพื้นผิวโลก และมีค่า LTAN ที่ 11.00 ดาวเทียมดวงหลักในการนำส่งครั้งนี้ คือ ดาวเทียม CAS500-1 ของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นดาวเทียมประเภท Earth Observation ความละเอียดสูง (0.5 m) ที่ใช้ระบบ AEISS-C (Advanced Earth Imaging Sensor System) น้ำหนักประมาณ 500 kg สร้างโดย Korea Aerospace Research Institute (KARI) มีอายุการใช้งานประมาณ 4 ปี และยังมีดาวเทียม Challenge ONE ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของ สาธารณรัฐตูนิเซีย แบบ Nano Satellite มีขนาด 3 U น้ำหนักประมาณ 3 kg ปฏิบัติงานประเภท IoT (Internet of Things) นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมอื่น ๆ จากหลายประเทศ อาทิเช่น ดาวเทียม UniSat 7, Unicorn 1, GRUS-1B, 1C, 1D, 1E, Arduiqube, ELSA-d, FEES, Fukui Prefectural Satellite, 2x Kepler, Pixxel, SMOG-1, GRBAlpha เป็นต้น
 
20210315 1
ดาวเทียม CAS500-1
 

ที่มา
http://gklaunch.ru/en/
http://gklaunch.ru/en/news/soyuz-2-launch-preparations-underway-at-baikonur-cosmodrome-in-advance-of-cas500-1-mission-with-smallsat-and-cubesat-rideshare-payloads/
https://www.kari.re.kr/eng/sub03_02_03.do
https://nextspaceflight.com/launches/details/2561
https://space.skyrocket.de/doc_sdat/cas500-1.htm

แปลและเรียบเรียง : น.ท.รณชัย วุฒิวิทยารักษ์