question  

จุดลากรางจ์ Lagrange Point คืออะไร

     
answer  

จุดที่มีความสมดุลของแรงโน้มถ่วงระหว่างเทหวัตถุทั้งสอง ทำให้วัตถุสามารถโคจรรอบจุดนั้นได้ หรืออวกาศยานสามารถโคจรรอบได้เช่นเดียวกัน โดยใช้ Thruster ปรับวงโคจรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

     

 

20220221 

ภาพจำลองจุดลากรางจ์ระหว่างดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์

เรียบเรียง : ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์

 

        btn back qna00        
                 

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

บริเวณที่เย็นที่สุดในอวกาศ

     
answer  

Boomerang Nebula เป็นกลุ่มเนบิวลาบริเวณที่เย็นที่สุด มีอุณหภูมิ -272 องศาเซลเซียส เข้าใกล้อุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์ (Absolute Zero) เพราะเนื่องจากบริเวณนี้มีการสะท้อนอนุภาคและไอออนของแก๊ส ทำให้ดาวฤกษ์บริเวณนี้เสียความหนาแน่นของอนุภาคอย่างรวดเร็วเป็นหมื่นล้านเท่าเทียบกับการสูญเสียอนุภาคของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ ซึ่งความเย็นนี้มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณที่ว่างเปล่าที่มีรังสีไมโครเวฟพื้นหลัง (Cosmic Microwave Background) อุณหภูมิ -270.4 องศาเซลเซียส

     

 

20220221 

ภาพจำลอง Boomerang Nebula

เรียบเรียง : ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

Geosynchronous Transfer Orbit คืออะไร

     
answer  

เป็นวงโคจรดาวเทียมนำส่งไปยังวงโคจร Geosynchronous Orbit หรือ Geostationary Orbits ซึ่งเป็นวงโคจรลักษณะวงรี (Elliptical Orbit) ที่มีขนาด Apoapsis Altitude 37,000 กิโลเมตร ก่อนจะทำการปรับวงโครเป็นแบบลักษณะวงกลม (Circular Orbit)  ให้ขนานกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ด้วยการจุดเครื่องยนต์จรวด ณ ตำแหน่ง Apoapsis  ซึ่งเครื่องยนต์จรวดส่วนมากจะทราบกันในนามว่า Apogee Motor

     

 

 20220217

รูปแสดงตำแหน่งของ Apoapsis และ Periapsis แหล่งที่มา https://solarsystem.nasa.gov/basics/chapter5-1/

เรียบเรียง : ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

เอกภพมีขนาดเท่าไร

     
answer  

เอกภพที่นักฟิสิกส์สามารถวัดขนาดได้ได้เรียกว่า เอกภพที่สังเกตได้ (Observable Universe) มีรัศมีจากจุดศูนย์กลางที่สำรวจคือ โลก ไปยังขอบทรงกลมที่สำรวจได้นี้ มีขนาด 46,508 ล้านปีแสง หรือเส้นผ่านศูนย์กลาง 93,000 ล้านปีแสง

     

 

20220221 

ภาพจำลองทรงกลมเอกภพที่สังเกตได้ (Observable Universe)

เรียบเรียง : ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

Gravitational Sphere of Influence คืออะไร

     
answer  

คือทรงกลมแรงโน้มถ่วงของเทหวัตถุเช่น ดวงอาทิตย์ โลก ดาวอังคาร ที่กำหนดให้เมื่อวัตถุเข้าสู่ทรงกลมนั้นแล้วจะได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของเทหวัตถุเดียวเท่านั้น มีผลให้มีการเปลี่ยนทิศทางและพลังงานจลน์ของวงโคจรเมื่อมีการบินผ่าน (Fly by) จนไปถึงทำให้ วัตถุสามารถและยังคงโคจรรอบเทหวัตถุนั้นได้

     

 

20220221 

ภาพจำลองการเดินทางจากโลกไปยังดาวอังคาร ซึ่งใช้ Sphere of Influence อธิบายการเข้าสู่วงโคจร

เรียบเรียง : ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

Station Keeping คืออะไร

     
answer  

เป็นการรักษาวงโคจรให้ดาวเทียมคงอยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งจะต้องใช้แรงขับ (Propulsive) จากแหล่งเชื้อเพลิงของดาวเทียม

     

 

 

เรียบเรียง : ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของเอกภพคืออะไร

     
answer  

รังสีเก่าแก่ที่สุดในเอกภพเท่าที่นักฟิสิกส์สามารถตรวจจับได้ หรือเมื่อเกิดเอกภพประมาณ 370,000 ปีเท่านั้น รังสีนี้ใช้อธิบายการเกิดเอกภพ ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีการเกิดบิกแบง และยังใช้พิสูจน์ขนาดของเอกภพได้เช่นกัน

     

 

20220221 

ภาพการตรวจจับรังสีไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศยาน Plank

เรียบเรียง : ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

เราสามารถลดความเร็วของดาวเทียมในวงโคจรที่มีระยะห่างจากโลกต่ำกว่า 35,786 กิโลเมตร และเพิ่มความเร็วหากมีระยะห่างจากโลกสูงกว่า 35,786 กิโลเมตร เพื่อให้มีคาบเท่ากับวงโคจร GSO และ GEO ได้ เหตุใดจึงไม่นิยมทำอย่างนั้น

     
answer  

หากเป็นอย่างนั้นจะต้องใช้เชื้อเพลิงในการสร้างแรงขับอย่างมหาศาล เพื่อปรับความเร็วของดาวเทียมตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ เพราะดาวเทียมมีแหล่งเชื้อเพลิงจำกัด

     

 

 

เรียบเรียง : ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0  
question  

คาบของดาวเทียม Geosynchronous Orbit และ Geostationary Orbits มีค่าเท่าไร

     
answer  

23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที หรือมีขนาดเท่ากับ 1 Sidereal day

     

 

 

เรียบเรียง : ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน

 

        btn back qna00        
        btn back qna00         

 

 

   btn qna0                btn home0